ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ปภพ จี้รัตน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

เกษตรแบบครัวเรือน, เกษตรพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ  4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน  ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้าการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ  4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน  ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 86,234.30 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 28 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรในชุมชนเฉลี่ย 3 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย 27 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และมีการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญา          เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ สถานภาพ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานทางด้านการเกษตร การเข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง และทัศนคติต่อการทำเกษตรแบบพอเพียง และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตร สำหรับปัญหาในการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ต้นทุนและปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรกรรมมีราคาสูง และผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำ ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การสนับสนุนองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ในการทำเกษตรกรรม         การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร

References

Barlthaisong, K. and N. Pinpradit. 2011. Understanding and participation in the philosophy of sufficiency economy, popular policies and effects of an integrated learning activities. KKU Research Journal (Graduate Studies) 11(1): 139-150. [in Thai]

Chandrabao, W., S. Terapongtanakorn and P. Intanon. 2013. The development of agro-forestry by the sufficiency economy model: a case study of farmers in four districts of Udon Thani province. Journal of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani University 4(2): 131-150. [in Thai]

Chunsiripong, C. 2007. An overview: Thai agricultural economy. Journal of Humanities and Social Sciences, Burapha University 15(23-24): 169-184. [in Thai]

Kanjanasamranwong, P. 2017. Principles of Statistics. Nonthaburi: IDC Premier. 568 p. [in Thai]

Khumhome, B. and S. Juntarukka. 2015. The model application of sufficiency economy philosophy of the students, the faculty of management science, Ubon Ratchathani university. Panyapiwat Journal 7(Special Issue): 86-98. [in Thai]

Kusagayavong, A. 2009. Applying the royal initiative about sufficiency economy in developing the economy of Chumporn, Ranong and Suratthani provinces. Chulalongkorn Business Review 31(3): 47-62. [in Thai]

Lakmuang, K., A. Ratanachai and P. Phapatigul. 2016. Factors related to attitude on sufficiency economy philosophy of rice farmers in Songkhla province. Khon Kaen Agriculture Journal 44(1): 75-82. [in Thai]

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2011. Agricultural Development Plan during the Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012-2016). Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 122 p. [in Thai]

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2016. Agricultural Development Plan during the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 66 p. [in Thai]

National Statistical Office. 2017. The 2017 Household Survey on the Use of Information and Communication Technology. [Online]. Available http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ICT/Household technology/2560/FullReportICT_60.pdf (5 April 2018).

Office of Agricultural Economics. 2017. Information of Agricultural Economics Product Lists in 2016. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 111 p. [in Thai]

Office of the National Economics and Social Development Board. 2016. The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Board, Prime Minister's Office. 215 p. [in Thai]

Office of the National Economics and Social Development Board. 2018. The 20-Year National Strategy Draft. [Online]. Available http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_DraftplanJune2018F.pdf (5 April 2018).

Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai]

Prasit-rathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai]

Ratanapeantamma, W. 2015. Agriculture refined (Kaset Praneet) model for the Elderly. Rom Phruek Journal 33(3): 75-96. [in Thai]

Sakkatat, P. and P. Kruekum. 2017. Factors affecting organic or chemical agricultural practice of farmers in Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension 34(3): 66-77. [in Thai]

Suwatthi, P. 1998. Principles of statistics. NIDA Development Journal 38(3): 103-130. [in Thai]

Tantivejkul, S. 2016. Taibueng Phrayukolbat (In His Majesty's Footsteps). Bangkok: Matichon. 320 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Bangkok: Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2019