ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สุวิชาญ ทุนอินทร์ สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรชนบทและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรชนบทและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สุรชัย กังวล สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรชนบทและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ธรรมพร ตันตรา สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรชนบทและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการเพื่อการดำรงอยู่, สมาชิก หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง, ต้นแบบ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ และ 2) ปัญหา อุปสรรค ของสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่ได้รับการแต่งตั้ง ปี พ.ศ. 2552–2557 ในภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด จาก 8 จังหวัด โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ สมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 790 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสมาชิกหมู่บ้าน มี 4 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ เงินสะสม การเข้าร่วมกิจกรรม สถานภาพ และรายได้ต่อครัวเรือน ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านจิตใจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเรียนรู้ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้ร้อยละ 38.3 ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคพบว่า 2) ในการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสมาชิกหมู่บ้าน พบว่าการสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนรับรู้ถึงการเข้ามามีส่วนร่วม การเข้าร่วมประชุม และการเสนอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ช่วยเหลือสมาชิกด้านหนี้สิน ส่งเสริมเข้าร่วมกลุ่มกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน และส่งเสริมการประกอบอาชีพในหมู่บ้านเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนในหมู่บ้าน ตลอดจนการส่งเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ แหล่งถ่ายทอดความรู้ในหมู่บ้านให้มีการสืบทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และการร่วมสร้างจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าและสูงสุด จะทำให้สมาชิกมีความเข้าใจมีส่วนร่วมและสามารถดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน

References

Chandang, W. 2012. The Development of a Strong Community Management Model Based on the Sufficiency Economy Philosophy in the Upper Central Region. Master Thesis. Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage of Phra Nakhon Si Ayutthaya. 299 p.

Hangsanawin, R. 2012. Handbook for Sufficiency Economy Village Project. Bangkok: Community Strengthening Bureau. 102 p.

Monkhla, P. 2010. Lifestyle behaviors according to the sufficiency economy principles of family leaders in Muang District Nakhon Pathom. Journal of Behavioral Science for Development 1(2): 89-103.

Srisa-ard, B. 2011. Preliminary Research. Bangkok: Sureewitaya Printing. 228 p.

Srisuk, K. 2009. Research Methodology. Chiang Mai: Kong Chang Printing. 249 p.

Thanapornpan, R. 1997. Social System, World Economy. Bangkok: Sou Se Ree. 199 p.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2019