การวางแผนการผลิตพืชของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองวังหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ไพศาล กะกุลพิมพ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุภาภรณ์ พวงชมภู ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

กล้วยหอม, กำไรสูงสุด, การผลิต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการวางแผนการผลิต จากการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อให้วางแผนการผลิตกล้วยหอมทองร่วมกับพืชหลากชนิดในพื้นที่ การผลิตเดียวกันได้อย่างเหมาะสมนำมาซึ่งกำไรสูงสุด โดยเจาะจงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองวังหลวง ที่ปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศแทนการส่งออก จำนวน 45 ราย อาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป Solver ในโปรแกรม Microsoft Excel 2010 พบว่า สมาชิกกลุ่มเกษตรกรสามารถขยายพื้นที่ทำการผลิต กล้วยหอมทองและดอกดาวเรือง ได้ถึง 15.91 ไร่ แบ่งเป็น 12.64 ไร่ (ผลิตกล้วยหอมทอง) และ 3.27 ไร่ (ผลิตดาวเรือง) ตลอดจนมีการใช้ชั่วโมงในการทำงาน เพียง 151.71 ชั่วโมง สมาชิกยังคงมีจำนวนชั่วโมงในการทำงานซึ่งสามารถนำไปทำกิจกรรมอื่นได้ อย่างไรก็ตามเงินลงทุนในการผลิตที่มีอยู่เฉลี่ย 214,184.60 บาท/ครัวเรือน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ ดังนั้นภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ผลิตกล้วยหอมทองและดอกดาวเรืองที่ให้ผลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้สม่ำเสมอ

References

Bureau of Agricultural Economic Research. 2006. The System of Farm Crop Production Application to Solving the Poor in Chiang Mai and Lopburi Province. 170 p. In Research Report. Bangkok: Office of Agricultural Economics. [in Thai]

Bureau of Economic and Social Statistics. 2012. Summary of Important Results on the Survey Working Conditions of the Population 2011 Years. Bangkok: National Statistical Office. 19 p. [in Thai]

Chaiwinit, W. 2008. Economically and Environmentally Optimal Highland Crop Production Plans at Farm Level, Mae Suk Watershed, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 112 p. [in Thai]

CP All. 2015. “7-Eleven” promote SMEs Thai support Tha Yang agricultural cooperatives planting cavendish banana farmer income. [Online]. Available http://:www.cpall.co.th/new-enter/corate-news (25 June 2016). [in Thai]

Hanjing, D. 2008. Optimum Plans for Chemical Residual-free Vegetable Production of Farmer Groups in Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 129 p. [in Thai]

Jantanopsiri, C. 1989. Linear Programming for Agricultural Production Planning. Chiang Mai: Maejo University. 188 p. [in Thai]

Nakasawat, U. 1971. Agricultural Economics: Farm Management 4thed. Bangkok: Technic Print. 446 p. [in Thai]

Pitakpongjaroen, T. 2015. Multiple goal production systems of highland farm household in Chiang Mai Province. Khon Kaen Agr. J. 43(1)(Suppl.): 69-75. [in Thai]

Pongkankam, A. 2008. Optimal Crop Plan under Risks in Upland Area of Maetha District, Lampang Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 141 p. [in Thai]

Prachachat Business Online. 2015. “Cavendish banana” Extreme price boom 100% “Nong Suea” Number one Pathum Thani city enter modern trade – 7-Eleven. [Online]. Available http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439971262 (1 June 2015). [in Thai]

Prelpool, P. 2014. Information for provincial development year 2014-2015. p. 11. In Annual Report. Nong Khai: Nong Khai Provincial Agricultural Extension Office. [in Thai]

Yamalang, P. 2011. Cavendish Banana. [Online]. Available http://pim23337.wordpress.com. (25 June 2016). [in Thai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2019