การคัดแยกและการระบุสายพันธุ์เชื้อจุลินทรีย์เพื่อการผลิตสีย้อมห้อมแบบธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • พิชญาพร ภิญญ์ญาพัช สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • ธวัชชัย ชัยธวัชวิถี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • เอกอาทิตย์ ฤทธิเดชยิ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

สีอินดิโก, ห้อม, การคัดแยก, การระบุสายพันธุ์, เชื้อจุรินทรีย์

บทคัดย่อ

เชื้อจุลินทรีย์ 265 ไอโซเลท ที่คัดแยกได้จากห้อม 240 ตัวอย่าง ในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนสีอินดิโกจากกระบวนการหมักห้อมแบบธรรมชาติในโรงงาน ตกสีห้อม บ้านนาคูหา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่ามีเพียง 160 ไอโซเลท ที่สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโกได้ และพบว่ามีเพียง 6 ไอโซเลท ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกได้มากที่สุด คือ L4นก3(-2)I1, L1ป1(-3)I1, L4นก3(-2)I3, L4นก4(-3)I2 L2ป2 (-2)I2 และ L1ป4(-2)I3 จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานพบว่า ไอโซเลท L1ป1(-3)I1, L2ป2(-2)I2, L1ป4 (-2)I3 และ L4นก4(-3)I2 เป็นรูปแท่ง ส่วนไอโซเลท L4นก3(-2)I1 และ L4นก3(-2)I3 เป็นรูปไข่ จากการทดสอบ
ด้วยวิธีการทางชีวเคมีพบว่าไอโซเลท L4นก3(-2)I1, L1ป4 (-2)I3 และ L4นก3(-2)I3 เหมือนกับ Bacillus sp. L4นก4 (-3)I2 เหมือนกับ Enterobacteria ในขณะที่ไอโซเลท L1ป1(-3)I1 และ L2ป2(-2)I2 ไม่สามารถจัดจำแนกชนิดได้ จากการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16s rDNA พบว่า L4นก3 (-2)I1, L2ป2(-2)I2, L1ป1(-3)I1, L1ป4(-2)I3, L4นก3(-2)I1 และ L4นก4(-3)I2 เหมือนกับ Bacillus sp., Streptomyces sp., Bacillus sp., B. Flexus, B. aryabhattai และ B. subtilis ตามลำดับ

Author Biographies

พิชญาพร ภิญญ์ญาพัช, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ธวัชชัย ชัยธวัชวิถี, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

เอกอาทิตย์ ฤทธิเดชยิ่ง, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

เผยแพร่แล้ว

11-05-2018