การใช้ประโยชน์ที่ดินและความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน
  • ชิษณุชา บุญดาบุญ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ความหลากหลาย, พันธุ์ข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับจังหวัด และความหลากหลายของพันธุ์ข้าวและพื้นที่ปลูกในระดับตำบลของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว และจากการสุ่มสัมภาษณ์เกษตรกร ในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดฉะเชิงเทรามีการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากที่สุด คือ 764,764 ไร่ หรือร้อยละ 23.69 ของพื้นที่ทั้งหมด สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว (นา) มีการใช้ประโยชน์มากเป็นอันดับที่ 4 คือ 342,780 ไร่ (ร้อยละ 10.62 ของพื้นที่ทั้งหมด) พันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอคลองเขื่อน บางคล้า บางน้ำเปรี้ยว บางปะกง บ้านโพธิ์ เมือง ราชสาส์น พนมสารคาม สนามชัยเขต แปลงยาว และท่าตะเกียบ ในฤดูนาปี จำนวน 19, 24, 41, 19, 20, 25, 35, 55, 2, 29 และ 20 พันธุ์ ตามลำดับ ฤดูนาปรัง จำนวน 14, 21, 33, 9, 17, 23, 26, 19, 0, 11 และ 5 พันธุ์ ตามลำดับ มีพื้นที่ปลูกข้าวในฤดูนาปี คือ 46,168, 15,444, 188,613, 11,251, 19,429, 122,417, 33,884, 61,387, 44,471, 12,846 และ 13,935 ไร่ ตามลำดับ และพื้นที่นาปรัง คือ 22,473, 8,145, 134,517, 4,281, 11,989, 104,082, 23,593, 14,586, 0, 1,249 และ 400 ไร่ ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับ การจัดการพื้นที่ปลูกข้าวสำหรับเกษตรกร นักวิชาการด้านข้าว รวมทั้งการเลือกพันธุ์ข้าวหรือส่งเสริมการปลูก ให้สอดคล้องกับความต้องการและตลาดข้าวต่อไป

Author Biography

ชิษณุชา บุญดาบุญ, ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี อุบลราชธานี

ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี อุบลราชธานี

เผยแพร่แล้ว

05-06-2019