ความคาดหวังและความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การใช้น้ำชลประทาน, ความคาดหวัง, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องความคาดหวังและความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินงานและการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานของเกษตรกร 2) ความคาดหวังและความพึงพอใจของเกษตรกรในการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานของเกษตรกร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังและความพึงพอใจของเกษตรกรในการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำ จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ร้อยละ 89.00 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.63 ปี ร้อยละ 83.00 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 63.00 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำ และมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ในการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ทั้ง 5 ประเด็นความ พึงพอใจ คือ ความพึงพอใจในด้านสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ความพึงพอใจในด้านการบริหารงานของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ความพึงพอใจในด้านการประชุม ความพึงพอใจในด้านกฎระเบียบการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา และความพึงพอใจในด้านบทลงโทษ ตามลำดับ
การศึกษาความแตกต่างของความคาดหวังและความพึงพอใจของกลุ่มบริหารการใช้น้ำ ฝายแม่บ่อทองและทางระบายน้ำเหมืองนา ฝายศรีเสลี่ยมคลองลาน และฝายแม่ถัน มีความคาดหวังและความพึงพอใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
ในด้านความคาดหวัง ฝายแม่บ่อทองและทางระบายน้ำเหมืองนา ฝายศรีเสลี่ยมคลองลาน และฝายแม่ถัน พบว่ากลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายแม่บ่อทองและทางระบายน้ำเหมืองนา ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณต้นน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีความแตกต่างกับกลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายศรีเสลี่ยมคลองลาน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณกลางน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดกลาง และกลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายแม่ถัน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณปลายน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันกลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายศรีเสลี่ยมคลองลาน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณกลางน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดกลาง และกลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายแม่ถัน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณปลายน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกันในด้านความคาดหวัง
ส่วนด้านความพึงพอใจระหว่างกลุ่มฝายแม่บ่อทองและทางระบายน้ำเหมืองนา ฝายศรีเสลี่ยมคลองลาน และฝายแม่ถัน พบว่ากลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายศรีเสลี่ยม คลองลาน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณกลางน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดกลาง และกลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายแม่ถัน ที่มีขอบเขตอยู่บริเวณปลายน้ำและเป็นฝายที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกันในด้านความพึงพอใจ
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร