ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กิตธวัช บุญทวี สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเป็นผู้ประกอบการ, การจัดการความรู้, กลยุทธ์ทางการตลาด, ความสามารถทางนวัตกรรม, ผลการดำเนินงาน, ธุรกิจเกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด และความสามารถทางนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย และ 3) เพื่อทดสอบความกลมกลืนของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์ จำนวน 610 ราย การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเกษตรอินทรีย์ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลเชิงปริมาณ ระดับความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยมีค่า X2=1,552.152, df=1,479, X2/df=1.049, p-value=0.091, GFI=0.924, CFI=0.996, RMR=0.025, RMSEA=0.009 ผลการทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีอิทธิพลของเส้นทาง คือ 1) ความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการความรู้ 2) ความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม 3) การจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อ กลยุทธ์การตลาด 4) กลยุทธ์ทางการตลาดมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม 5) กลยุทธ์การตลาดมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน 6) ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน และ 7) การจัดการความรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานผ่านกลยุทธ์การตลาด ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าธุรกิจเกษตรอินทรีย์จะประสบผลสำเร็จด้านการดำเนินงานและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต้องอาศัยการร่วมมือกันทั้ง 3 ส่วน คือ 1) การทำงานแบบมีส่วนร่วมมีหน่วยงานจากภาครัฐมาช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจหรือกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานราชการมีการส่งเสริมด้านการวิจัย การทำงานเชิงรุก การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์ 2) ความเป็นผู้ประกอบการ มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ การทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเจ้าของธุรกิจ มีแนวความคิดแปลกใหม่ มีกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์และกระบวนการทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการ 3) ความสามารถในการทำกำไร ให้ความสำคัญกับการจัดการมูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตที่ดีและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เสริมกัน มีระบบสารสนเทศด้านการเงินในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ใช้วิเคราะห์สภาพคล่องในการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถนำรูปแบบไปพัฒนาธุรกิจเกษตรอินทรีย์ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ของธุรกิจเพื่อสนับสนุนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

References

Barney, J.B. 1991. The resource-based view of strategy: origins, implication, and prospects. Journal of Management 17: 123-182.

Bianka, R.C., A.S. Asif and A. Raj. 2015. Study on the impact of marketing mix on export performance–vis-à-vis the leather footwear exporting SMEs of india. Global Journal of Enterprise Information System 7(3): 28-37.

Bollen, K.A. 1989. Structural Equation with Latent Variables. New York: John Wiley and Sons. 269 p.

Dana, I.S., C. Elin and C.W. Wahyu. 2015. Identifying knowledge management process of Indonesian government human capital management using analytical hierarchy process and pearson correlation analysis. Procedia Computer Science 72: 233-243.

Hair, J.F., W.C Black, B.J. Babin and R.E. Anderson. 2006. Multivariate Data Analysis. 6thed. New Jersey: Prentice Hall. 816 p.

Henchion, M., P. O’Reilly and C. Cowan. 2002. Organic food in Ireland: a supply chain perspective. Irish journal of Management 23: 23-31.

Joanna, E. 2015. Innovativeness of residential care services in Poland in the context of strategic orientation. Procedia-social and Behavioral Sciences 213: 746-752.

Koowaran, N. 2008. A Holistic Research. Bangkok: Chulalongkorn University. 153 p. [in Thai]

Kotler, P. and K.L. Keller. 2016. Marketing Management. 15thed. New Jersey: Prentice-Hall. 714 p.

Kungwon, S. 2019. A structural equation model of factors affecting decisions making for organic rice production Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension 36(3): 34-43. [in Thai]

Madhoushi, M., A. Sadati, H. Delavari, M. Mehdivand and R. Mihandost. 2011. Entrepreneurial orientation and innovation performance: the mediating role of knowledge management. Asian Journal of Business Management 3(4): 310-316.

Ministry of Agriculture and Co-operatives. 2017. Strategic Framework of Food Security. Ministry of Agriculture and Co-operatives (B.E. 2017 -2021). Bangkok: Ministry of Agriculture and Co-operatives. 118 p. [in Thai]

Ministry of Commerce. 2015. Strategies of the ministry of commerce for trading organic agricultural products. [Online]. Available http://www.moc.go.th/ (9 October 2019). [in Thai]

Mohamad, N.Y. and H.A.B. Abu. 2012. Knowledge management and growth performance in construction companies: a framework. Procedia-social and Behavioral Sciences 62: 128-134.

Muhammad, S.B. and M. Rosli. 2014. Linking transformational leadership and corporate entrepreneurship to performance in the public higher education institutions in Malaysia. Advances in Management and Applied Economics 4(3): 109-122.

Ndubisi, N.O. and J. Agarwal. 2014. Quality performance of SMEs in a developing economy: direct and indirect effects of service innovation and entrepreneurial Orientation. Journal of Business and Industrials Marketing 29(6): 52-55.

Organic Agriculture Certification Thailand. 2019. The name list of organic farming entrepreneurs. [Online]. Available http://actorganic-cert.or.th/th/download-th/total-list/?fbclid=IwAR2RMWEu_311CBxeEu0oDEY2e5r-2caeB2imXd-YFdYhUva4lruVL6Oj5fE. (9 October 2019). [in Thai]

Pratan, J. 2005. Factors Affecting Decision Making in Organic Rice Production of Framers in Ubon Ratchathani Province. Master Thesis. Khon Kaen University. 109 p. (in Thai)

Preda, G. 2013. The influence of entrepreneurial Orientation and market based organizational learning on the firm’s strategic innovation capability. Management and Marketing. 8(4): 607-622.

Rhee, J., T. Park and D.H. Lee. 2010. Driver of innovativeness and performance for innovative SMEs in South Korea: mediation of learning orientation. Technovation 30(1): 65-75.

Rowley, J. and S. Marco. 2006. Organic: an SME marketing case study. The Marketing Review 6: 253-236.

The Commission of the National Organic Agricultural Development. 2017. Strategies for the National Organic Farming Development B.E. 2020-2024. Bangkok: Office of the Agricultural Economy, Ministry of Agriculture and Co-operatives. 86 p. [in Thai]

Thomas, G.M.H, F.H. Robert and A.K. Gary. 2004. Innovativeness: its antecedents and impact on business performance. Industrial Marketing Management 33: 429-438

Wickham, P.A. 2006. Strategic Entreprenurship. 4thed. New Jersey: Prentice-Hill. 648 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2021