ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 125 ราย วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณได้ถูกนำมาใช้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ประกอบการกับองค์ประกอบปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มองค์ประกอบปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยการตลาด ปัจจัยธุรกิจและคู่แข่ง ปัจจัยกฎระเบียบและการเมือง ปัจจัยผู้ประกอบการ ปัจจัยการจัดการภายใน ปัจจัยนโยบายภาครัฐ ปัจจัยความมุ่งมั่นและกล้าเสี่ยง ปัจจัยการวางแผนทางการเงิน และปัจจัยการบริการหลังการขาย ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด จำนวนเงินลงทุนเริ่มแรก และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาครัฐควรกำหนดนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างหลากหลาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน และมีมุมมองในปัจจัย ที่กำหนดความสำเร็จของกิจการแตกต่างกัน
References
Bank of Thailand. 2018. SMEs and Thai economy. [Online]. Available https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/article28_06_12.pdf (July 15, 2018). [in Thai]
Benzing, C., H.M. Chu and G. Callanan. 2005. A regional comparison of the motivation and problems of Vietnamese entrepreneurs. Journal of Development Entrepreneurship 10(1): 3-27.
Department of Agriculture. 2018. Statistics of registered fertilizer store in Thailand. [Online]. Available http://www.doa.go.th/ard/?page_id=312 (20 July 2018). [in Thai]
Hair, J.F., W.C. Black, B.J. Babin, R.E. Anderson and R.L. Tatham. 2006. Multivariate Data Analysis (6thed.). NJ: Pearson Prentice Hall. 897 p.
Nishantha, B. and K.P.J.M. Pathirana. 2014. Motivation, perceived success factors and problems of entrepreneurs: evidence from a developing country in Asia. International Journal of Process Management and Benchmarking 4(3): 292-304.
Office of Agricultural Economics. 2018. Agricultural statistics of Thailand. [Online]. Available http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/journal/2562/yearbook2561.pdf (July 15, 2018). [in Thai]
Office of SMEs Promotion. 2018. SMEs situation report. [Online]. Available http://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20180912113024.pdf (12 July 2018). [in Thai]
Pholphirul, P. 2013. Roles of Thai small and medium enterprises under creative economy. NIDA Economic Review 7(1): 205-250. [in Thai]
Pinyo, T. 2018. Techniques for interpreting the results of factor analysis in research work. Panyapiwat Journal 10(Special Issue): 292-304. [in Thai]
Scrimgeour, F., A. McDermott, C. Saunders, N. Shadbolt and G. Sheath. 2006. New Zealand Agribusiness Success: An Approach to Exploring the Role of Strategy, Structure and Conduct on Firm Performance. pp. 1-6. In New Zealand Agricultural and Resource Economics Society Conference 25-27 August 2006. Nelson: New Zealand.
Songkramphu, J. and S. Aditto. 2015. Success factors of small and medium agribusiness enterprises (SMAEs) in Khon Kaen province. Khon Kaen Agriculture Journal 43(3): 525-534. [in Thai]
The Udon Thani Provincial Office of the Comptroller General. 2018. GPP of Udon Thani province. [Online]. Available https://www.cgd.go.th/cs/udn/Bottom_up.html (15 July 2018). [in Thai]
Vanichbuncha, K. 2012. Using SPSS for Windows for Data Analysis (10thed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. 520 p. [in Thai]
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper & Row. 1130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร