การเปรียบเทียบวิธีการและต้นทุนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อแม่พันธุ์

ผู้แต่ง

  • พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศักดิ์ชัย เครือสาร สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธรรมนูญ ธานี สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุรีย์พร แสงวงศ์ สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชยุต ดงปาลีธรรม์ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา
  • เทอดชัย แก้วเกษา ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เหนี่ยวนำการเป็นสัด, ผสมเทียม, โคเนื้อแม่พันธุ์, ต้นทุน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการและต้นทุนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อแม่พันธุ์ โดยใช้         โคเนื้อแม่พันธุ์จากฟาร์มเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ในจังหวัดพะเยา การทดลองนี้ใช้โคลูกผสมพื้นเมืองเพศเมียจำนวน 45 ตัว อายุ 3-5 ปี ให้ลูกมาแล้ว 2-4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 350-450 กิโลกรัม ถูกจัดเข้าในแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน (Ovsynch) จำนวน 15 ตัว กลุ่มที่ 2 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมน (CIDR) จำนวน 15 ตัว และกลุ่มที่ 3 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการพันหางด้วยแผ่นฮอร์โมน (P-sync) จำนวน  15 ตัว ในวันแรกของการเหนี่ยวนำ (Day 0) ฉีดฮอร์โมน Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) ให้กับ แม่โคในกลุ่มที่ 1 สอดแท่ง CIDR เข้าช่องคลอดให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 2 และพันหางด้วยแผ่น P-sync ให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 3 ในวัน     ที่ 7 ของขั้นตอนการเหนี่ยวนำ ถอดแท่งฮอร์โมนและแผ่นฮอร์โมนออก แล้วฉีดฮอร์โมน Prostaglandin F2alpha (PGF2α) จากนั้นผสมเทียม ในชั่วโมงที่ 55 หลังจากฉีดฮอร์โมน PGF2α และตรวจการตั้งท้องในวันที่ 60 หลังจากผสมเทียมด้วยเครื่อง Ultrasound ทำการเปรียบเทียบข้อมูลอัตราการตั้งท้องในวันที่ 60 หลังจากการผสมเทียม และอัตราลูกเกิดเปรียบเทียบค่าร้อยละโดยใช้ Chi-square test  ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตั้งท้องในกลุ่มเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนเท่ากับร้อยละ 73 (11/15) มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีพันหางตั้งท้องร้อยละ 47 (7/15 ตัว) และกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนตั้งท้อง ร้อยละ 40 (6/15 ตัว) (P<0.05) อัตราลูกเกิดพบว่า ในกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนมีลูกเกิดร้อยละ 66 (10/15 ตัว) สูงกว่ากลุ่มฉีดฮอร์โมนมีลูกเกิดร้อยละ 40 (6/15 ตัว) และกลุ่มพันหาง มีลูกเกิดร้อยละ 40 (6/15 ตัว) (P<0.05) ต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนเท่ากับ 726 บาทต่อตัว  กลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการพันหางด้วยแผ่นฮอร์โมนเท่ากับ 586 บาทต่อตัว และกลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนเท่ากับ 412 บาทต่อตัว ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมนมีอัตราการตั้งท้องและอัตราลูกเกิดดี แต่มีต้นทุนสูงกว่ากลุ่มอื่น

References

Ashvinkumar, C., H. Nilufar, J. Natvarbhai, B. Nikita, P. Gaurangkumar, M. Mahesh, P. Dhavalkumar and P. Pankaj. 2018. Synchronization of estrus: A reproductive management tool in veterinary practice. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences 7: 1511-1519.

Battocchio, M., G. Gabai, M.C. Veronesi, F. Soldano, G. Bono and F. Cairoli. 1999. Agreement between ultrasonographic classification of the CL and plasma progesterone concentration in dairy cows. Theriogenology 51: 1059-1069.

Bó, G.A., D.C Guerrero, A. Tríbulo, H. Tríbulo, R. Tríbulo, D. Rogan and R.J. Mapletoft. 2010. New approaches to superovulation in the cow. Reproduction Fertility and Development 22: 106-112.

Bruno, R.G., A.M. Farias, J.A. Hernández-Rivera, A.E. Navarrette, D.E. Hawkins, and T.R. Bilby. 2013. Effect of gonadotropin-releasing hormone or prostaglandin F(2α)-based estrus synchronizationprograms for first or subsequent artificial insemination in lactating dairy cows. Journal of Dairy Science 96: 1556-1567.

De Souza, L.B., R. Dupras, L. Mills, Y. Chorfiand C.A. Price. 2013. Effect of synchronization of follicle-wave emergence with estradiol and progesterone and superstimulation with follicle-stimulating hormone on milk estrogen concentrations in dairy cattle. Canadian Journal of Veterinary Research 77(1): 75-78.

Dhami, A.J., B.B. Nakrani, K.K. Hadiya, J.A. Patel, and R.G. Shah. 2015. Comparative efficacy of different estrus synchronization protocols on estrus induction response, fertility and plasma progesterone and biochemical profilein crossbred anestrus cows.Veterinary World 8(11): 1310-1316.

Edwards, S.A.A., G.A. Bo., K.A. Chandra, P.C. Atkinson and M.R. McGowan. 2015. Comparison of the pregnancy rates and costs per calf born after fixed-time artificial insemination or artificial insemination after estrus detection in Bos indicus heifers. Theriogenology 83: 114-120.

El-Zarkouny, S.Z., J.A. Cartmill, B.A. Hensley and J.S. Stevenson. 2004. Pregnancy in dairy cows after synchronized ovulation regimens with or without presynchronization and progesterone. Journal of Dairy Science 87: 1024-1037.

Hussein, F.M., D.L. Paccamonti, B.E. Eilis and M.Y.M. Younis. 1992. Comparison of ovarian palpation, milk progesterone and plasma progesterone in the cow. Theriogenology 38: 431-439.

Intawicha, P., S. Krueasan, S. Kheanwang, T. Thanee, S. Tana, C. Sorachakula and K. Danmek. 2017. Condition of raising beef cows and farmer satisfaction in Mueang district, Mae Chai, Dok Khamtai and Phukhamyao districts of Phayao Province. Journal of Agricultural Research and Extension 33(3): 26-34. [in Thai]

Pattanawong, W. and W. Thaworn. 2014. Development of estrus synchronization equipment for fixed-timed artificial insemination. Thai Journal of Animal Science 1(2)(Special Issue): 87-90. [in Thai]

Rodgers J.C., S.L. Bird and J.E. Larson. 2012. An economic evaluation of estrous synchronization and timed artificial insemination in suckled beef cows. Journal of Animal Science. 10: 1297-308.

Stevenson, J.S., Y. Kobayashi, M.P. Shipka and K.C. Rauchholz. 1996. Altering conception of dairy cattle by gonadotrophin-releasing hormones preceeding luteolysis induced by prostaglandin F-2 alpha. Journal of Dairy Science 79(3): 402-410.

Wilson, D.J., D.A. Mallory, D.C. Busch, N.R. Leitman, J.K. Haden, D.J. Schafer, M.R. Ellersieck, M.F. Smith and D.J. Patterson. 2010. Comparison of short-term progestin-based protocols to synchronize estrus and ovulation in postpartum beef cows. Journal of Animal Science 88: 2045-2054.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2020