ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ที่มีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร, ความมั่นคงทางด้านอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสถานการณ์แรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และ  3) เพื่อหาแนวทางและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มเกษตรกร แรงงานภาคการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน       400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาสถานการณ์แรงงานภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แรงงานภาคเกษตรมีสัดส่วนลดลง สมาชิกในครัวเรือนเกษตรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นกลุ่มที่ภาครัฐต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ผลิตอาหารแล้ว ยังคงเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะความเป็นอยู่ด้อยกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม ผลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุทำให้สัดส่วนผู้สูงอายุที่ยังอยู่ในกำลังแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากประชากรวัยแรงงานในอนาคตจะมีแนวโน้มลดลง และเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุที่ยังมีศักยภาพเข้ามาทำงานทดแทนผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ดังนั้น ประชากรสูงอายุเหล่านี้นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และความมั่นคงทางอาหารของไทยในอนาคต

แนวทางและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร คือ ส่วนใหญ่มีการทำการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ และมีปัจจัยเสริมคือ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ จึงทำการเพาะปลูกได้ดี แต่ทั้งนี้แรงงานช่วยทำการเกษตร ยังคงต้องจ้างแรงงานจากภายนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว และแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่  1) การเช่าพื้นที่เพาะปลูกเพื่อทำการผลิตพืชรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรที่สามารถเข้าถึงการเช่าที่ดิน ได้เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชรายได้พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตพืชหลัก  2) การทำการเกษตรผสมผสานพืชไร่–ปศุสัตว์ เป็นระบบที่เกษตรกรได้ร่วมกันแสวงหาทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้ ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่เกษตรกรมีความรู้และทักษะเป็นอย่างดี และพึ่งพิงกับปัจจัยภายนอกและเทคโนโลยีน้อยที่สุด มีความเสี่ยงน้อยและมีโอกาสสำเร็จสูง และเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

References

Chiang Mai Provincial Agricultural Extension Office. 2014. Report of Chiang Mai Agricultural Economic. 13 p. In Annual Report 2014. Chiang Mai: Chiang Mai Provincial Agricultural Extension Office. [in Thai]

Fongmul, S. 2008. The changing of aging population for agricultural labor management: the case of Mae Faek, San Sai district, Chiang Mai province. 11 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai].

Fongmul, S. 2011. Study on agricultural labor force crises: the case of longan. 96 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Office of the National Economics and Social Development Board. 2014. Situation and Impact of Foreign Workers in the Thai Economy. 27 p. In Annual Report 2014. Bangkok: Ministry of Labour. [in Thai]

Office of Economic Development and Social North. 2005. Drilling report on the study on labor changes in agricultural sector in upper north of Thailand. [Online]. Available http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=2683 (14 March 2012).

Singhapreecha, C.H. 2015. The impact of agricultural demographic structural change on food security in Thai agricultural sector. Journal of the Association of Researchers 20(1): 107-121. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020