การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถสกัดไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร จันทร์ฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • พรดารา ศรีทอง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • อัญศญา บุญประจวบ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ไคโตซาน, ไคติน, เเบคทีเรีย, การคัดเเยก, เปลือกกุ้ง

บทคัดย่อ

การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถสกัดไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้ง พบว่ามีจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ 3 ไอโซเลท คือ PC-08 จากปุ๋ยน้ำไคโตซาน    NC-04 จากน้ำหมักไคโตซานจากเปลือกกุ้ง และ SC-08 จากน้ำหมักไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้งร้านหมูกระทะ  เมื่อทำการทดสอบในอาหารเหลว MMCT พบว่าไอโซเลท NC-04 ให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์ดีที่สุด เท่ากับ 16.746±0.019 ยูนิต/มิลลิกรัม/นาที จึงนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการทางเคมี พบว่าการผลิตไคโตซาน  ที่ย่อยด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์มีค่าการกำจัดหมู่อะซิทิล การละลายน้ำ ร้อยละผลผลิตของไคโตซาน และค่า pH มากกว่าวิธีการแยกด้วยเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากแหล่งขยะเปลือกกุ้ง เมื่อนำเชื้อที่สามารถแยกได้ไปวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาพบว่า ไอโซเลท NC-04 มีลักษณะสัณฐานวิทยาตรงกับ Acinetobacter baumannii  ร้อยละ 99 อย่างไรก็ตามวิธีการคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียในการสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งยังคงต้อง มีการพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

References

Brzezinska, M.S. and W. Donderski. 2001. Occurrence of chitinolytic bacteria in water and bottom sediment of Eutrophic lakes in Iławskie lake district. Polish Journal of Environmental Studies 10(5): 331-336

Chatdamrong, W. 1996. Isolation and Selection of Microorganisms for Production of Chitinolytic Enzymes. Master Thesis. Prince of Songkla University. 191 p. [in Thai]

Gomez, P., R. Ratcliff, A. Thapar, G. McKoon. and L. Aging. 2004. CRR1, a gene encoding a putative transglycosidase, is required for proper spore wall assembly in Saccharomyces cerevisiae. Microbiology 150(10): 3269-3280.

Jongjeen, J. 2010. Screening of proteolytic and Chitinolytic Bacillus spp. isolated from soil. Agricultural Sci. J. 41(3): 317-320. [in Thai]

Patil, T. and L. Paknikar. 2000. First crenarchaeal chitinase found in Sulfolobus tokodaii. Microbiological Research 167(5): 262-269.

Pensiri, S. 2011. Chitosan Extraction Using Chemical Methods. Nontaburi: School of Science and Technology Department, Sukhothai Thammathirat University. 15 p. [in Thai]

Souze, C., E.M. Burbano-Rosero, B. Almeida, G. Martins, L. Albertini and I.G. Rivera. 2009. Culture medium for isolating chitinolytic bacteria from seawater and plankton. World Journal of Microbiology and Biotechnology 25(11): 2079-2082.

Tomee, J.F., A.T. Wierenga, P.S. Hiemstra and H.K. Kauffman. 1997. Proteases from Aspergillus fumigatus induce release of proinflammatory cytokines and cell detachment in airway epithelial cell lines. J. Infect. Dis. 176: 300-303. DOI: 10.1086/517272.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023