การจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้งของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย 50290
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย 50290

คำสำคัญ:

กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน, การจัดการน้ำในสภาวะภัยแล้ง, โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝกแม่งัด

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้ง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้ง และ 3) แนวทางการจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำชลประทานของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 305 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ใช้น้ำมีการจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้งโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ ด้านการลดปริมาณการใช้น้ำ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำด้านการปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก ด้านการจัดการพื้นที่ปลูก และด้านการหาแหล่งน้ำใหม่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig.<0.05) ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตร การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการน้ำ และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชลประทาน 3) แนวทางการจัดการน้ำในภาวะภัยแล้งของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด ได้แก่ (1) การขยายพื้นที่การส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ทางการเกษตรอย่างทั่วถึง (2) การซ่อมแซมคลองชลประทานที่ชำรุดให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก (3) การสำรวจพื้นที่สำหรับการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการเกษตรกร (4) การสนับสนุนให้มีโครงการส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่แหล่งต้นน้ำ (5) มีการจัดทำนโยบายหรือมาตรการป้องกันการตัดไม้และการเผาป่าแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนต้นน้ำและปลายน้ำ (6) การสนับสนุนให้เกิดโครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างเหมาะสมในสภาวะภัยแล้ง และ (7) การเปิดโอกาสให้เกษตรกรและหน่วยงานพัฒนาภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดการและการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยแล้งร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ

References

Chompooming, P., J. Nimpanich, S. Suksamran and W. Wamanond. 2015. Networking Governance in water resources management: case study of Yom river basin region. The Golden Teak: Humanity and Social Science 21(3): 145-159. [in Thai].

Jitae, S. 2019. Participation of farmers, activities in water resource management in Li watershed, Lamphun province. King Mongkut's Agricultural Journal 37(3): 519-526. [in Thai].

Kessung, P. 2016. Action Research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 301 p.

Klinsreesuk, R., S. Srisai and J. Vibhatakalasa. 2017. Effective water management with participation of the people in The Regional Irrigation Office 11 Royal Irrigation Department. VRU Research and Development Journal Science and Technology 12(3): 167-176. [in Thai]

Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodology. Bangkok: National Institute of Development Administration. 308 p. [in Thai]

Royal Irrigation Department. 2011a. Irrigation Water Management Group. 2nd. Bangkok: Amornprint. 31 p.

Royal Irrigation Department. 2011b. Water Management and Irrigation User Organization Management. 2nd. Bangkok: Amornprint. 211 p.

Saipatthana, U. and C. Piyapimonsit. 2004. Collinearity. Parichart Journal 17(1): 55-62. [in Thai].

Thipparatanadetch, S. 2012. Participatory Development and Water Users Organization Empowerment in Mae Faek-Mae Ngat Operation and Maintenance Project, Sansai District, Chiang Mai. Doctoral Dissertation. Maejo University. 283 p.

Vanichbuncha, K. 2018. Statistics for Research. 14th. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 320 p.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Simsuay, C. 2013. Evolution and changing pattern of water resources management for agriculture in Mae-Khan watershed Chiangmai province. Romphruek Journal 31(3): 85-114.

Hydro-Informatics Institute. 2016. Record of drought in 2015/2016. [Online]. Available https://www.thaiwater.net/current/2016/drought59/drought59.html. (3 September 2016).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022