รูปแบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะภายใน

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ตันตา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คำสำคัญ:

ไมโครแบคทีเรีย , กบนา , ลูกอ๊อด, รูปแบบ การเลี้ยง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium spp. ในอวัยวะภายในของพ่อแม่พันธุ์กบ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบในบ่อซีเมนต์กลมแบบทั่วไป (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบในบ่อซีเมนต์กลมครึ่งบกครึ่งน้ำสัดส่วน 60:40 ชุดการทดลองที่ 3 เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบในบ่อสี่เหลี่ยม ชุดการทดลองที่ 4 เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบในกระชังบก ชุดการทดลองที่ 5 เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบในกระชังลอยน้ำในบ่อซีเมนต์ ทำการทดลองในสถานที่ที่มีการระบาดของเชื้อ Mycobacterium spp. โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์กบนาลงเลี้ยงในอัตราส่วน 15 ตัวต่อตารางเมตร ภายหลังการทดลอง 3 เดือน พบว่าเปอร์เซ็นต์การเพิ่มของน้ำหนักรวมของพ่อแม่พันธุ์กบที่เลี้ยงในรูปแบบการเลี้ยงที่ต่างกัน มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.00±20.99, 44.25±56.34, 0.26±5.16, 20.00±6.78 และ 16.23±8.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำผลไปวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าชุดการทดลองที่ 1 มีความแตกต่างกับชุดการทดลองที่ 2, 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาอัตราการรอดตายของพ่อแม่พันธุ์กบนาที่เลี้ยงในรูปแบบการเลี้ยงที่ต่างกัน มีค่าเท่ากับ 90.63±6.25, 100±0.00, 93.47±7.53, 97.91±1.39 และ 97.91±1.39 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งอัตราการรอดตายของพ่อแม่พันธุ์กบนาที่เลี้ยงในบ่อกลมครึ่งบกครึ่งน้ำไม่พบการตายของพ่อแม่พันธุ์ ทำให้มีอัตราการรอดตายที่สูงที่สุด และเมื่อนำผลไปวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าชุดการทดลองที่ 2 มีความแตกต่างจากชุดการทดลองที่ 1 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อหาเชื้อ Mycobacterium spp. จากห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) ปรากฏว่าไม่พบเชื้อ Mycobacterium spp.ในชุดการทดลองที่ 2 และเมื่อนำพ่อแม่พันธุ์กบจากชุดการทดลองที่ 2 ไปเพาะขยายพันธุ์ พบว่าลูกอ๊อดมีอัตราการเจริญเติบโตเป็นปกติ

References

Amatayakool, C., B. Chawpakanam, J. Udomkarn, S. Samanojitrakul, P. Sirpatprasit, A. Imsil and D. Nantamonkolul. 1995. Rana rugulosa - Common Lowland Frog (Rana rugulosa, Wiegmann). Bangkok: Inland Fisheries Research and Development Division, Department of Fisheries. 130 p. [in Thai]

Chinabut, S., Y. Kanayati and T. Pungkachonboon. 1994. Study of Transovarian Transmission of Mycobacteria in Betta Splendens Regens. pp. 339-341. In Proceedings of Third Asian Fisheries Forum, 26-30 October 1992. Singapore: Asian Fisheries Society.

Koanantakool, K., T. Somsiri, S. Puthinawarat and S. Suntornwit. 2002. Contamination of Mycobacterium spp. in living feed. Department of Fisheries Journal 55(2): 107-119. [in Thai]

Kusuma Na Ayudhya, T. 2020. Raising frogs to create jobs and make money at Phanom Sarakham, Chachoengsao. [Online]. Available https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_29777 (16 June 2021). [in Thai]

Sritan, J., K. Boonsri, A. Sirimalaisuwan and K. Pringproa. 2013. Mycobacterial infection (Mycobacterium avium subsp. avium) in the parrot eclectus (Eclectus roratus). Chiang Mai Veterinary Journal 11(3): 271-276. [in Thai]

Tanta, S. 2017. Mycobacterium spp. found in frogs and tadpoles. The Upper Northern Animal Health Newsletter. (25 January 2018): 14-15. [in Thai]

Thip-uten T., S. Arungamol, S. Butdawong and S. Thip-uten. 2019. Frog raising condition and diseases finding in Sakon Nakhon and Nakhon Phanon Provinces. Journal of Fisheries Technology Research 13(1): 105-116. [in Thai]

Thonklongsy, T., W. Pomsema, W. Ratanawichai and C. Pukingngen. 2011. Development of a hybrid frog culture model in cement ponds, floating ponds and earthen ponds. pp. 38-43. In Proceedings of Kon Kaen University, 27-29 January 2011. Kon Kaen: Kon Kaen University. [in Thai]

Upnanchai, A., S. Sripat and P. Singsom. 2005. Rearing of frogs in cement tanks at different density rates. 38 p. In Academic Documents Issue 11/2005. Bangkok: In land Fisheries Research and Development Department. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022