ผลของสารเคลือบผิวจากเปลือกเสาวรสและสารสกัดจากเกล็ดปลาต่ออายุการเก็บรักษาสตรอเบอรี

ผู้แต่ง

  • ศิวดล แจ่มจำรัส สาขาวิชาเอกพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ศิริพลอย ยอดอาจ สาขาวิชาเอกพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ศิริพร โพธิ์ขนาบ สาขาวิชาเอกพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • นุชจรี สิงห์พันธ์ สาขาวิชาเอกพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

สตรอเบอรี, เสาวรส, สารเคลือบผิว

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของสารเคลือบผิวจากเปลือกเสาวรสต่อการยืดอายุการเก็บรักษาสตรอเบอรีที่ปลูกในอำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ มีทั้งหมด 8 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบไปด้วย การเคลือบผิวด้วยสารสกัดจากเปลือกเสาวรส สารละลายเพคติน สารสกัดจากเกล็ดปลา สารละลายไคโตซาน และกรดอะซิติก (Acetic acid) หลังการเก็บรักษา 8 วัน พบว่าการเคลือบผิวสตรอเบอรีด้วยเพคติน 2 เปอร์เซ็นต์ + ไคโตซาน 1 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด ส่วนการเคลือบผิวด้วยสารสกัดเกล็ดปลา 1 เปอร์เซ็นต์ ผลสตรอเบอรีมีปริมาณกรดที่ไทเทรตได้มากที่สุด ในขณะที่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Brix) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ       แต่มีผลกับสัดส่วนของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) สารละลายไคโตซาน 1 เปอร์เซ็นต์ และสารเคลือบผิวจากเปลือกเสาวรส  2 เปอร์เซ็นต์ + สารละลายไคโตซาน 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่า TSS/TA สูงที่สุด ส่วนผสตรอเบอรีที่ไม่ได้เคลือบผิวมีปริมาณแอนโทไซยานินมากที่สุดหลังเก็บรักษา 2 วัน ค่าสี L (ความสว่าง) ของการเคลือบผิวในทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าสี a การเคลือบผิวสตรอเบอรีด้วยเพคติน 2 เปอร์เซ็นต์ + ไคโตซาน 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสี a (สีแดง) มากกว่าการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดเปลือกเสาวรส 2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการไม่เคลือบผิวมีผลทำให้มีค่าสี b (สีเหลือง) น้อยที่สุด

References

Boonyakiat, D. and P. Sehanam. 2003. Effect of chitosan coating on quality of strawberry fruit. Journal of Agriculture 19(2): 100-106. [in Thai]

Chaiteep, S. 1996. Effect of Temperature and Edible Coatings on Quality and Shelf Life of Minimally Processed Pineapple. Master Thesis. Chiang Mai University. 135 p. [in Thai]

Changirakul, K., A. Nanthasoonthon, C. Thepsithar and A. Thongpukdee. 2016. Effects of coating agent from pomelo peel and aloe gel on storage life of sweet basil. Science and Technology Silpakorn University 3(6): 323-331. [in Thai]

Chucheep, K. 2000. Effect of Chitosan Coating on Quality of Harvested Strawberry. Master Thesis. King Mongkut’s University of Technology Thonburi. 103 p. [in Thai]

Department of Agriculture Extension. 2017. Agricultural production information system. [Online]. Available http://production.doae.go.th (March 20, 2022). [in Thai]

Dhital, R., N. Becerra, D.G. Watson, P. Kohli and R. Choudhary. 2018. Efficacy of limonene nano coating on post-harvest shelf life of strawberries. LWT-Food Science and Technology 97: 124-134.

Inthasan, K. 2015. Kan Pluk Strawberry. Kanchanaburi: Kanchanaburi Agricultural Occupation Promotion and Development Center (Highland Agricultural Extension). 25 p. [in Thai]

Jarunrattanasakul, P. 2009. Growth Inhibition of Botrytis cinerea of Surfaces of Fresh Strawberry by Fermented Vinegar. Master Thesis. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. 33 p. [in Thai]

Phavaphutanon, L. n.d. Kan Pluk Kratokrok Farang. Bangkok: Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University. 30 p. [in Thai]

Phiphatthanawong, N. 2000. Strawberry: Peut Sayt Ta Git Mai. Bangkok: Kasetsart University. 158 p. [in Thai]

Piriyaphattarakit, A., C. Sartpetch, M. Lanchai, A. Suwannagu, K. Busarakum, N. Chanchula and T. Taychasinpitak. 2017. Efficiency of konjac coating agent for postharvest prolonging shelf life of tangerine orange (Citrus reticulate Blanco.). Thai Journal of Science and Technology 6(4suppl.): 301-308. [in Thai]

Rachtanapun, P. and D. Noiwan. 2008. Effect of Equilibrium Modified Atmosphere Packaging on Storage Life of Strawberry (Fragaria ananassa). pp. 529-537. Proceedings of 46th Kasetsart University Annual Conference: Agro-Industry. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Rodpprasert, S. 2014. What are the benefits of fruit coating? Department of Science Service, Ministry of Science and Technology 62(196): 41-43. [in Thai]

Velickova, E., E. Winkelhausen, S. Kuzmaova, V.D. Alves and M. Moldao-Martins. 2013. Impact of chitosan-beeswax edible coating on the quality of fresh strawberries (Fragaria ananassa cv. camarosa) under commercial storage conditions. LWT-Food Science and Technology 52: 80-92.

Wanniyom, W. 2009. Development of Passion Fruit Jam Using Passion Fruit Rind. Master Thesis. Chiang Mai University. 209 p. [in Thai]

Weeraphan, W. 2011. Chitosan Extraction from Fish Scale of Tilapia (Tilapia Nilotica) for Edible Film Production. Master Thesis. Chiang Mai University. 91 p. [in Thai]

Yindee, A. 1996. Pugment Changes in Mango and Lychee Fruits during Pre- and Post-harvest Periods. Master Thesis. Chiang Mai University. 157 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023