ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกแห้วสุพรรณภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ เป็งเรือน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
  • พัชราวดี ศรีบุญเรือง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
  • ชลาธร จูเจริญ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

เกษตรกร, ความคิดเห็น, แห้วสุพรรณ, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยการส่งเสริมการผลิต 2) ความคิดเห็นของเกษตรกร 3) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยการส่งเสริมการผลิตแห้วสุพรรณกับความคิดเห็นของเกษตรกร และ  4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกแห้วสุพรรณ  ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 112 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้  t-test, F-test ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคลมากที่สุด เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่า 1) ขั้นตอนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยมีความซับซ้อน ทำได้ยาก 2) เกษตรไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย และ3) เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการปลูกแห้วสุพรรณภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกแห้วสุพรรณภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย 1) แหล่งเงินทุน มีผลต่อการปลูกแห้วสุพรรณแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  2) การได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ มีผลต่อการปลูกแห้วสุพรรณแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01  3) การได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย มีผลต่อการปลูกแห้วสุพรรณแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหา คือ โรคและแมลงระบาด ขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ภาวะแห้งแล้ง และราคาผลผลิตมีความผันผวน

References

Department of Intellectual Property. 2018. Internal Control System of Geographical Indication Products "Haew Suphan". Nonthaburi: Extension and Protection of Geographical Indication Products Project, Department of Intellectual Property. 58 p. [in Thai]

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.

Niyamarngkoon, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Bangkok: Book To You. 280 p. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2016. Agricultural statistics of Thailand 2016. [Online]. Available http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/yearbook58.pdf (January 26, 2020).

Office of Suphanburi Province. 2009. General condition of the province. [Online]. Available http://www.suphanburi.go.th/suphan/ProvinceGeneral.php (January 26, 2020).

Office of the National Economic and Social Development Board. 2017. The twelfth national economic and social development plan (2017-2021). [Online]. Available https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (January 30, 2020). [in Thai]

Office of Wangyang Subdistrict Municipality. 2019. Name List Farmers’ Haew Suphan Cultivation Year 2018. Suphanburi: Office of Wangyang Subdistrict Municipality (copy). 25 p. [in Thai]

Suphanburi Provincial Agricultural Extension Office. 2018. Haew Production Information Year 2014-2018. Suphanburi: Suphanburi Provincial Agricultural Extension Office (copy). 5 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023