ความคิดเห็นต่อการพึ่งพากันได้ในชุมชนของเกษตรกรในระบบชลประทานขนาดเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ภัทรสุดา จบแล้ว ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รุจ ศิริสัญลักษณ์ ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพึ่งพากัน , อุปสรรคในการประกอบอาชีพ, การเกษตร, ชุมชนเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเกษตรกับการพึ่งพากันได้ของคนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรในระบบชลประทานขนาดเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 589 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 79.12 เป็นเพศชาย อาศัยอยู่ในชุมชนมาเป็นเวลาเฉลี่ย 48.54 ปี มีรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 3,060.32 บาท  ต่อเดือน ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.68  มีหนี้สิน เกษตรกร มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยว่า คนในชุมชนสามารถพึ่งพากันได้ (gif.latex?\bar{x} =2.72) โดยเห็นว่าคนในชุมชนมีความซื่อสัตย์และเชื่อถือได้ มีความเต็มใจช่วยเหลือเมื่อต้องการให้ช่วย และเมื่อมีเรื่องเร่งด่วน  คนในชุมชนพร้อมที่จะช่วย เกษตรกรมีอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเกษตร คือ ราคาปัจจัยการผลิต ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต และความเสียหายของโครงสร้างระบบชลประทาน และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเกษตรกับการพึ่งพากันได้ของคนในชุมชนพบว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.113) อธิบายได้ว่า ถ้ามีระดับอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเกษตรมากขึ้น ชุมชนจะมีการพึ่งพากันมากขึ้น  โดยอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการพึ่งพากันได้ของคนในชุมชน  

References

Brennan, M.L. 2013. The importance of interdependence. [Online]. Available https://psychcentral.com/blog/balanced-life/2013/06/the-importance-of-interdependence#1 (November 27, 2021).

Intria, M. 2017. Social capital. Narkbhutparitat Journal 9(2): 14-25. [in Thai]

Junthapong, S. and P. Thepkham. 2018. Agricultural innovation: solution to Thailand's inequality problem part 1. [Online]. Available https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_11Apr2018.pdf (December 10, 2020). [in Thai]

Open textbooks for Hong Kong. 2016. Communication, interdependence, and group structure. [Online]. Available http://www.opentextbooks.org.hk/ditatopic/17339 (December 10, 2020).

Petcharat, C., P. Phocherd and B. Kuensuwong. 2019. Agricultural production patterns of rural Thai households’ data from Townsend Thai data. [Online]. Available https://www.pier.or.th/abridged/2019/10/#top (December 10, 2020). [in Thai]

Phongrattananugul, S. and D. Sirikanchanarak. n.d. Irrigation system and Thai agriculture. [Online]. Available https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Northern/DocLib_Article/ThailandIrrigationAgriSector (November 27, 2021). [in Thai]

Posita, C. 2012. Rural Thai villages in capitalism. The Journal of the Royal Society of Thailand 37(4): 163-185. [in Thai]

Punyasing, S. 2014. Self-development and indicators of farming families’ well-being in accordance with sufficiency economy philosophy approach in Northeast Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University 31(3): 121-138. [in Thai]

Thailand Plus. 2018. Community way of life agriculture. [Online]. Available https://www.thailandplus.tv/archives/1777 (December 10, 2020). [in Thai]

Weeraphanpong, A. 2014. Factors influencing self-reliance community: the case of Klongladmayom Community, Talingchan, Bangkok. Governance Journal 3(1): 59-82. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023