การใช้เทคโนโลยีในการผลิตมะยงชิดของเกษตรกร ในจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ธราเทพ พันธุบุตร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • ธานินทร์ คงศิลา ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • วีรศิลป์ สอนจรูญ สอนจรูญ วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีการผลิตพืช , มะยงชิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางประชากรศาสตร์ บริบททางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิดจังหวัดนครนายก 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดของเกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิดจังหวัดนครนายก 3) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะยงชิด จำแนกตามบริบททางเศรษฐกิจ 4) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการผลิตมะยงชิดของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 177 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.02) อายุเฉลี่ย 61 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 43.50) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน (ร้อยละ 62.15) มีการถือครองพื้นที่ปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 2.68 ไร่ โดยเป็นของตนเอง (ร้อยละ 81.92) มีแรงงานในครัวเรือน 1-2 คน (ร้อยละ 78.54) และไม่ได้จ้างแรงงานจ้างจากภายนอก (ร้อยละ 81.36) เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตมะยงชิดในปี พ.ศ. 2564 เฉลี่ย 15,173.45 บาท มีรายได้จากการจำหน่ายมะยงชิดในปี พ.ศ. 2564 เฉลี่ย 45,179.10 บาท เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตมะยงชิดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.30) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เกษตรกรที่มีต้นทุนในการผลิตมะยงชิด และมีรายได้จากการจำหน่ายมะยงชิดที่แตกต่างกัน มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดในภาพรวมทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Boonwong, T., J. Chumpookam and C. Yapwattanaphun. 2017. Effect of colors of bagging material on fruit quality of ‘Toon Klaow’ marian plum (Bouea burmanica Griff.). Thai Journal of Science and Technology 6(3): 214-220. [in Thai]

Department of International Trade Promotion. 2021. International trade statistics. [Online]. Available https://www.ditp.go.th/ditp_web61 (December 10, 2021). [in Thai]

Fakkhong, S. C. Rangjaroen, Y. Saeiam and N. Boonme. 2021. The adaptation of the yellow marian plum growers in Nakhon Nayok to climate change. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology) 16(2): 57-66. [in Thai]

Nakhon Nayok Provincial Agriculture and Cooperative Office. 2019. Nakhon Nayok marian plum production planning. [Online]. Available https://www.opsmoac.go.th/nakhonnayok-dwl-files-412791791913 (March 23, 2021). [in Thai]

Nakklay, R., P. Sriboonruang and P. Tongdeelert. 2019. Farmers’ opinions toward Mayongchid Nakhon Nayok cultivation in Mueang Nakhon Nayok district, Nakhon Nayok province. Agricultural Science Journal 50(3): 228-238. [in Thai]

Niyamangkoon, S. 2018. Research Methods in Social Science and Statistics Used. Bangkok: Book To You Publishing. 467 p. [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. 2017. The twelfth national economic and social development plan (2017-2021). [Online]. Available https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue (March 23, 2021). [in Thai]

Parnpeachra, S. 2015. Indigenous Knowledge of Organic Agriculture in Chachoengsao Province. 72 p. In Research Reports. Bangkok: Dhurakij Pundit University. [in Thai]

Srisook, T. 2020. Development guideline of processed agricultural products groups under project for pushing farmer to be smart farmer in Lampang province. Western University Research Journal of Humanities and Social Science 6(1): 39-51. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023