การประเมินคุณภาพอาหารหยาบและเศษเหลือทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของอาหารหยาบและเศษเหลือทางการเกษตร ที่นำมาใช้เลี้ยงโคนมในจังหวัดสระแก้ว โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกร 250 ราย จากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดสระแก้ว 675 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และข้อมูลการจัดการด้านอาหารหยาบ โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารหยาบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เลี้ยงโคนมในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม 2560) มาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม 11-20 ปี
มีที่ดินเป็นของตัวเองเฉลี่ย 30 ไร่/ราย มีสัดส่วนของโคนมรีดนมสูงกว่าโคสาวทดแทน เกษตรกรส่วนใหญ่ให้อาหารแบบแยก
โดยมีฟางข้าวเป็นอาหารหยาบหลัก แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการจัดการแปลงหญ้า แต่ในฤดูแล้งปริมาณผลผลิตหญ้าอาหารสัตว์
ก็ยังไม่เพียงพอ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของฟางข้าว พบว่า มีโภชนะต่ำ เนื่องจากมีโปรตีนต่ำ และส่วนของผนังเซลล์สูง ส่วนพืชอาหารสัตว์ พบว่า หญ้าเนเปียร์มีโปรตีนสูงที่สุด ร้อยละ 7.32 (P<0.05) มีเยื่อใยผนังเซลล์ต่ำที่สุด ร้อยละ 66.57 (P<0.05) และหญ้าอะตราตั้มมีโปรตีนต่ำที่สุด ร้อยละ 5.31 (P<0.05) ส่วนเศษเหลือทางการเกษตรที่เกษตรกรนิยมใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบเสริมได้แก่ ผิวถั่วเหลือง เปลือกมันสำปะหลัง เปลือกและซังข้าวโพดหมัก และยอดอ้อย ตามลำดับ โดยผิวถั่วเหลือง มีโปรตีนสูงที่สุด ร้อยละ 10.63 (P<0.05) และเปลือกมันสำปะหลัง มีโปรตีนต่ำที่สุด ร้อยละ 1.12 (P<0.05)
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กรมปศุสัตว์. 2558. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ระดับจังหวัด ปี 2558. http://ict.dld.go.th/th2/images/ stories/stat_web/yearly/ 2558/province/3.milkcaw_province.pdf. (22 พฤศจิกายน 2558).
กรรณิกา เร่งสกุล. 2545. เปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะทรงพุ่ม คุณค่าทางโภชนะและการตอบสนองของโคเนื้อระหว่างหญ้าขนอ่อนและ
หญ้าอุบลพาสพาลัม ภายใต้สภาพการแทะเล็มแบบหมุนเวียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ.
จินดา สนิทวงศ์, ณัฐวุฒิ บุรินทราภิบาล และเฉลียว ศรีชู. 2544. ผลการใช้หญ้าสกุล Paspalum เป็นอาหารหยาบหลักเลี้ยงโคเนื้อ. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. https://dspace.tarr.arda.or.th/rest/bitstreams/273/retrieve. (22 พฤศจิกายน 2558).
เทอดชัย เวียรศิลป์. 2548. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: ภาควิชาสัตวศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธันวา ไวยบท และมนตรี ทองเชื้อ. 2556. ผลของอายุการตัดหญ้าแพงโกล่าต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะในเขตจังหวัดนครสวรรค์.
วารสารแก่นเกษตร 41(1): 376-380.
เมฆ ขวัญแก้ว, พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2553. การใช้เปลือกมันสำปะหลังและกากมันสำปะหลังเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารหยาบหมัก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12(3): 92-103.
วิโรจน์ ภัทรจินดา. 2559. TMR ยุคใหม่โคนมไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สายัณห์ ทัดศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนันท์ เชาว์เครือ, ฉัตรวิรุฬ มาตา และดาริกา ชูศรี. 2559. ผลของการใช้สารเสริมต่อคุณค่าทางโภชนะและคุณภาพของการผลิตยอดอ้อยหมัก. วารสารแก่นเกษตร 44(1): 528-533.
AOAC. 1984. Official methods of analysis. association of official analytical chemists. Arlington: Association of Official Agricultural Chemists.
Goering, H. K., and Van Soest, P. J. 1970. Forage fiber analyses (apparatus, reagent, prcedures and some application). Washington, D.C.: United States Department of Agricultural.
Hare, M. D., Saengkham, M., Kaewkunya, C., Tudsri, S., Suriyajuntratong, W., Thummasaen, K., and Wongpichet, K. 2001.
Effect of cutting on yield and quality of Paspalum atratum in Thailand. Tropical Grasslands 35: 144-150.
Tikam, K., Mikled, C., Vearasilp, T., Phatsara, C., and Südekuma, K. H. 2010. Digestibility of nutrient and evaluation of energy of Pangola grass in sheep compared with Napier grass. In Proceedings of International Research on Food Security,
Natural Resource Management and Rural Development. Zurich, Switzerland.
Wanapat, M., Sundstøl, F., and Garmo, T. 1985. A comparison of alkali treatment methods to improve the nutritive value of straw. I. Digestibility and metabolizability. Animal Feed Science and Technology 12: 295-309.
Yamane, T. 1973. Statistics: an introductory analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication.