ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) สำหรับกล้วยไม้ตัดดอกของ เกษตรกรตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม 3)
ปัจจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมี 4) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกล้วยไม้ 5) การปฏิบัติตามเกษตรดีที่เหมาะสม
(GAP) สำหรับกล้วยไม้ตัดดอก และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม
ปัจจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกล้วยไม้ กับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
(GAP)สำหรับกล้วยไม้ตัดดอกของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 128 ราย สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.10 ปี มีระดับการศึกษาในชั้น
ประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ 20.18 ปี รายได้จากการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เฉลี่ย
62,270.37 บาท/ไร่/ปี รายจ่ายในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ของเกษตรกร เฉลี่ย 26,600.17 บาท/ไร่/ปี จำนวนพื้นที่ใน
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เฉลี่ย 9.21 ไร่ จำนวนแรงงานในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เฉลี่ย 1 – 3 คน ใช้ปุ๋ยเคมีเร่ง
การเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ เฉลี่ย 4 ครั้ง/เดือน ใส่อาหารเสริม (เร่งราก/ขนาดดอก/บำรุงตน/บำรุงสี)
เฉลี่ย 3.75 ครั้ง/เดือน และใส่สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ย 4.71 ครั้ง/เดือน ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกล้วยไม้จาก
สื่อเฉพาะกิจมากที่สุด การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP)สำหรับกล้วยไม้ตัดดอกเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติตาม
คำแนะนำ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา ตลาดรองรับ รายจ่ายจากการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
จำนวนพื้นที่ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และจำนวนแรงงานในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ
ทางการเกษตรที่ดี(GAP)สำหรับกล้วยไม้ตัดดอกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า