ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของ สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุร

Main Article Content

วันทนีย์ ศรีพวงผกาพันธุ์
สาวิตรี รังสิภัทร์
สาวิตรี รังสิภัทร์
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
3) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการเกษตร 4) การเปิดรับข่าวสารทางด้านการเกษตร 5) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อ
การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน
ส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการเกษตรและการเปิดรับข่าวสาร กับความพึงพอใจ
ของเกษตรกรต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปลูกกล้วย
หอมทองที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตร ท่ายาง จำกัด อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 168 ราย เก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำ
สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.87
ปี มีระดับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 8.61 ปี มีพื้นที่
ปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 7.06 ไร่ มีแรงงานในการปลูกกล้วยหอมทอง 4 คน มีรายได้จากการปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย
38,213.10 บาท/ไร่ มีรายจ่ายจากการปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 13,712.86 บาท/ไร่ จำนวนการเข้ารับการอบรมทางการ
เกษตรของสหกรณ์เฉลี่ย 1.41 ครั้ง/ปี จำนวนการพบปะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของสหกรณ์เฉลี่ย 2.29 ครั้ง/ปี เคยได้รับ
ข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อบุคคล (ร้อยละ 42.3)โดยมาจากผู้นำชุมชนและเพื่อนบ้าน ส่วนสื่อมวลชน (ร้อยละ 60.1)
โดยมาจากแผ่นพับ หนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือเกี่ยวกับการเกษตร และได้รับข่าวสารจากสื่อเฉพาะกิจ (ร้อยละ49.4)
โดยมาจากการประชุม ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร
ของสหกรณ์โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 2.36) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและประสบการณ์
ในการปลูกกล้วยหอมทองมีความสัมพันธ์ภาพรวมกับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองต่อการดำเนิน
งานส่งเสริมการเกษตรของสหกรณ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย