การถ่ายยีนรายงานผล gus และ mgfp เข้าสู่เนื้อเยื่อสัก โดยการใช้อะโกรแบคทีเรียม

Main Article Content

ประกาย อ่อนวิมล
เยาวพรรณ สนธิกุล
สนธิชัย จันทร์เปรม
เสริมศิริ จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

การทดสอบปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสeเร็จในการถ่ายยีนเข้าเนื้อเยื่อสัก โดยใช้เชื้อ Agrobacterium
tumefaciens 2 สายพันธุ์คือ EHA 105 และ AGL1 ที่มีพลาสมิด pCAMBIA 1304 พบว่า A. tumefaciens สาย
พันธุ์ EHA 105 ความเข้มข้นเชื้อที่ OD600 = 1.0 ปลูกเชื้อนาน 3 ชั่วโมง และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับเชื้อนาน 3 วัน
ให้ประสิทธิภาพในการถ่ายยีนและมีการแสดงออกของยีนรายงานผล gus แบบชั่วคราวดีที่สุด และพบว่าการถ่ายยีน
เข้าสู่เนื้อเยื่อข้อให้ผลดีกว่าเนื้อเยื่อฐานใบ และเมื่อใช้สภาวะดังกล่าวถ่ายยีนต้านทานสารปฏิชีวนะhygromycin(hpt)
และยีนรายงานผล membrane bound green fluorescence protein (mgfp) เข้าสู่เนื้อเยื่อสัก 3 ชนิดคือ ปลายยอด
ข้อที่ตาข้างเริ่มพัฒนา และแคลลัส หลังจากนำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติมสารปฏิชีวนะ hygromycin ความเข้มข้น
50 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จึงนำไปตรวจการเรืองแสงของโปรตีน mgfp แบบชั่วคราวภายใต้กล้อง
fluorescence stereo microscope พบว่าส่วนปลายยอดมีจำนวนชิ้นที่เรืองแสงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90 รองลง
มาคือ ข้อที่ตาข้างเริ่มพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 73 และในแคลลัสคิดเป็นร้อยละ 33 โดยเนื้อเยื่อบริเวณปลายยอดและ
ใบอ่อนพบมีการเรืองแสงสีเขียวของโปรตีน mgfp มากที่สุด แต่มีเพียงข้อที่ตาข้างเริ่มพัฒนา จำนวน 2 ชิ้น เท่านั้นที่
มีการแสดงออกของยีน mgfp แบบถาวร

Article Details

บท
บทความวิจัย