ความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และการเปิดรับข่าวสาร
ทางการเกษตรของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราของเกษตรกร
3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราของเกษตรกร ตามปัจจัย
ส่วนบุคคล และตามการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรที่แตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจกับความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ปลูกสวนยางพารา ตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 344 คน
คำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน
แบบทางเดียว (F-test). LSD (least significant difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
(Pearson’s correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 51.03 ปี มีระดับการศึกษาประถมศึกษาหรือ
ต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.06 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 13.72 ไร่ มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 12.02 ไร่
มีแรงงานในการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 2.07 คน มีรายจ่ายในการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 19,888.84 บาทต่อปี มีราย
ได้จากการทำสวนยางพาราเฉลี่ยเท่ากับ 117,966.57 บาทต่อปี และมีประสบการณ์ในการทำสวนยางพารา
เฉลี่ย 22.92 ปี เกษตรกรมีการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรมากที่สุดจากเพื่อนเกษตรกร การประชุมและโทรทัศน์
กับวิทยุ เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราเฉลี่ยโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่
ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.97) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนแตกต่างกัน
มีความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำสวนยางโดยรวมเฉลี่ยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า พื้นที่ปลูกยางพารามีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นที่มีต่อการประกอบอาชีพการทำ
สวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า