การประยุกต์ใช้สารดูดซับคลอโรฟิลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีตรวจสอบไวรัสใบหงิก ข้าวในน้ำคั้นพืช ด้วยเทคนิค Dot-Immunobinding Assay

Main Article Content

ฐานัฎ ณ พัทลุง
วิชชุดา รัตนากาญจน์
วิภา ตังคนานนท์

บทคัดย่อ

ตรวจสอบระยะเวลาน้อยที่สุดและส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวพันธุ์ไทชุงเนทีฟ 1 ซึ่งได้รับการถ่ายทอดไวรัส
ใบหงิกข้าว (rice ragged stunt virus, RRSV) โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) ด้วยเทคนิค
dot-immunobinding assay (DIBA) สามารถตรวจสอบไวรัสในต้นข้าวได้ ขณะที่ตันข้าวยังไม่ปรากฏลักษณะอาการ
ของโรคให้เห็น ภายหลังจากการถ่ายทอดไวรัสด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นระยะเวลา 15 วัน และสามารถตรวจพบ
ไวรัสได้ในใบและลำต้น ด้วยอัตราเจือจางสูงสุดของน้ำคั้นพืช 1:5 เท่า ขณะที่ระยะเวลา 60 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มี
การแสดงอาการของโรคปรากฏอย่างเด่นชัด สามารถตรวจพบไวรัสได้ในใบและลำต้น และบริเวณราก ด้วยอัตราการ
เจือจางสูงสุดของน้ำคั้นพืช 1:500 และ 1:10 เท่า ตามลำดับ นอกจากนี้ได้เตรียมน้ำคั้นพืชเพื่อตรวจสอบไวรัสใบหงิก
ข้าวด้วยเทคนิค DIBA โดยการใช้สารดูดซับคลอโรฟิลล์ทั้ง 4 ชนิด พบว่า แมกนีเซียมออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์
เปรียบเทียบกับเบนโทไนท์และผงถ่านกัมมันต์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบไวรัสในน้ำคั้นพืชบริเวณ
ใบและลำต้น ได้ที่อัตราการเจือจางสูงสุด 1:1,500 และ 1:1,000 เท่า ตามลำดับ และเมื่อใช้แมกนีเซียมออกไซด์และ
เบนโทไนท์ กับอะลูมิเนียมออกไซด์และผงถ่านกัมมันต์ สามารถตรวจสอบไวรัสในน้ำคั้นพืชบริเวณรากของต้นข้าวได้ที่
อัตราการเจือจางสูงสุด 1:50 และ 1:100 เท่า ตามลำดับ การประยุกต์ใช้สารดูดซับคลอโรฟิลล์ในน้ำคั้นพืชเพื่อตรวจ
สอบไวรัสใบหงิกข้าวด้วยเทคนิค DIBA นี้ สามารถตรวจสอบปริมาณความเข้มข้นของไวรัสใบหงิกข้าวน้อยกว่าเดิมถึง
3 เท่า ที่บริเวณใบและลำต้น และน้อยกว่าเดิมถึง 10 เท่า ที่บริเวณราก ดังนั้นการใช้สารดูดซับคลอโรฟิลล์จึงสามารถ
ช่วยเพิ่มความไวของเทคนิค DIBA ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย