การใช้ไข่น้ำ(Wolffia globosa) แหนแดง (Azolla sp.) และแหนเป็ดเล็ก (Lemna minor) ดูดซับธาตุอาหารในน้ำหมักมูลปลานิล (Oreochromis niloticus)

Main Article Content

จิระพงศ์ ผดุงปราณ
สมชาย หวังวิบูลย์กิจ

บทคัดย่อ

การใช้ไข่น้ำ (Wolffia globosa) แหนแดง (Azolla sp.) และแหนเป็ดเล็ก (Lemna minor) เพื่อดูดซับธาตุ
อาหารในน้ำหมักมูลปลานิล (Oreochromis niloticus) โดยศึกษาปริมาณธาตุอาหารในน้ำหมักมูลปลานิลที่ระดับ
ความเข้มข้น 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 g dry weight/L เป็นระยะเวลา 24 วัน พบว่าปริมาณแอมโมเนียลดลงเป็น 0 mg/L
ปริมาณไนเตรท ไนโตรเจนรวมออร์โธฟอสเฟต และฟอสฟอรัสรวมมีปริมาณสูงสุด 6.28±0.18, 16.41±0.15, 7.00±0.54
และ 8.23±0.28 mg/L ตามลำดับ หลังจากนั้นทำการศึกษาการเติบโต และประสิทธิภาพการดูดซับธาตุอาหารของ
ไข่น้ำ แหนแดง และแหนเป็ดเล็กในน้ำหมักมูลปลานิลความเข้มข้น 1.5 g dry weight/L หมักเป็นระยะเวลา 24 วัน
ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 12 วัน พบว่าไข่น้ำ แหนแดง และแหนเป็ดเล็กสามารถลดปริมาณธาตุอาหารในน้ำหมัก
มูลปลานิลได้ โดยแหนเป็ดเล็กมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารได้ดีที่สุด สามารถลดปริมาณไนเตรท ไนโตรเจน
รวม ออร์โธฟอสเฟต และฟอสฟอรัสรวมได้ 0.157±0.000, 0.375±0.000, 0.198±0.010 และ 0.193±0.010 mg/g
fresh weight/d ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าไข่น้ำ แหนแดง และแหนเป็ดเล็กสามารถนำไปใช้ในการลด
ปริมาณของเสียจากน้ำหมักมูลปลานิลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย