ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าวงจรคุณภาพบิ๊กซีในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าวงจร
คุณภาพบิ๊กซี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่เคยซื้อสินค้าวงจร
คุณภาพบิ๊กซี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มี
ผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ คือ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรม
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาด
ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ตัดสินใจซื้อที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก แต่การส่งเสริมการตลาดไม่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านการซื้อสินค้าซ้ำ ส่วนความสัมพันธ์ของคุณค่าตราสินค้าต่อพฤติกรรมการ
ตัดสินใจซื้อ พบว่า การรู้จักตราสัญลักษณ์สินค้า การรับรู้คุณภาพตราสัญลักษณ์สินค้า ความสัมพันธ์กับตราสัญลักษณ์
สินค้า และความภักดีต่อตราสัญลักษณ์สินค้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ
0.05 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2551. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, กรุงเทพฯ.
บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน). รายงานประจำปี 2555. แหล่งที่มา: http://bigc.listedcompany.com/misc/ar/20130911-
BIGC-AR2012-TH-02.pdf
บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน). 2558. แหล่งที่มา: http://bigc.listedcompany.com/misc/ar/20130911-BIGC-AR2012-
TH-02.pdf
ปรียาภรณ์ ย้อยแสง. 2554. การตัดสินใจซื้อสินค้าตราสินค้าผู้ขายของผู้บริโภคในห้างบิ๊กซีสาขาฉะเชิงเทรา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาเรียม นะมิ. 2554. การศึกษาความต้องการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแปรรูปของชาวมาเลเซีย. งานวิจัยคณะ
บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ลักษณ์นาราข์ พันวราสิน. 2553. เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ไอศกรีมวอลล์ และไอศกรีมเนสท์เล่ของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิเชียร เกตุสิงห์. 2541. คู่มือการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติ. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.
(วรรณวิจักขณ์). 2557. Special Report แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2557. อุตสาหกรรมสาร. 56, 5-7.
ศศิธร พูนโสภิณ. 2555. ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งยี่ห้ออีซี่โก ของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนัญญา ใบสมุทร. 2552. พฤติกรรมการซื้ออาหารสดของผู้บริโภคในอำเภอเมืองสมุทรสาคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Laurens Sloot, Peter C. Verhoef and Philip Hans Franses. 2002. “The impact of brand and category characteristics on
consumer stock-out reactions.” 1-44. in ERIM Report Series Research in Management. Rotterdam: Erasmus Universiteit
Rotterdam.
Magda Aguiar Fontes, Eric Giraud-Héraud and Alexandra Seabra Pinto. 2013. “consumer’s behaviour towards food safety:
A litterature review.” 1-26. in Ecole Polytechnique Centre National De La Recherche Scientifique. France.
Marreiros, C. and Ness, M. 2009. “A Conceptual Framework of Consumer Food Choice Behaviour.” Centro de estudos