การหาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับ QTLs ที่ควบคุมลักษณะอายุวันออกดอกสั้น ในประชากร BC5F2 ของคู่ผสมระหว่างข้าวไวต่อช่วงแสงพันธุ์ กข6 และข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ ไทชุง 65
Main Article Content
บทคัดย่อ
อายุวันออกดอกเป็นลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญอย่างหนึ่งในข้าวแต่ละพันธุ์มีการปรับตัวให้สามารถปลูก
ได้ในพื้นที่ และฤดูกาลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อายุวันออกดอกที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลอย่างมากต่อผลผลิตข้าว อายุ
วันออกดอกจึงเป็นวัตถุประสงค์หลักในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ดังนั้นการทดลองนี้ได้นำเครื่องหมายโมเลกุลจำนวน 11
ตำแหน่ง ที่พบในสายพันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสง BC3F5-1752(6) มาใช้ศึกษาหาความสัมพันธ์ของ
เครื่องหมายโมเลกุลที่อยู่ใกล้หรือยึดติดกับ QTLs ที่ควบคุมลักษณะอายุวันออกดอกสั้นในประชากรผสมกลับของข้าว
เหนียวสายพันธุ์ กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสง BC5F2 จำนวน 248 ต้น ผลการทดลองจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีโน
ไทป์กับอายุวันออกดอก (ฟีโนไทป์) ด้วยวิธี Single-Factor Analysis of Variance พบว่าเครื่องหมายโมเลกุลทั้ง 11
ตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับลักษณะอายุวันออกดอกสั้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) จากนั้นทำการวิเคราะห์หาค่า
สมการการถดถอยหลายตำแหน่งด้วยวิธี multiple regression ของเครื่องหมายโมเลกุลที่แสดงความสัมพันธ์กับ
ลักษณะอายุวันออกดอกสั้น พบเครื่องหมายโมเลกุลจำนวน 3 ตำแหน่ง คือ er3 marker มีความสัมพันธ์กับลักษณะ
อายุวันออกดอกสั้นมากที่สุด (P<0.0001) โดยมีค่า partial R-square เท่ากับ 0.1410 รองลงมา คือ เครื่องหมาย
โมเลกุล hd1 marker และ hd2 marker ที่แสดงความสัมพันธ์กับลักษณะอายุวันออกดอกสั้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
(P<0.0001) มีค่า partial R-square เท่ากับ 0.0891 และ 0.0611 ตามลำดับ ดังนั้นสามารถใช้เครื่องหมายโมเลกุล
er3 hd1 และ hd2 markers มาช่วยคัดเลือกในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสงให้มีอายุ
วันออกดอกที่เหมาะสมได้ต่อไป
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ewt_news.php?nid=13577.
วราภรณ์ แสงทอง วิลาวรรณ ศิริพูนวิวัฒน์ ประทีป พิณตานนท์ สมเกียรติ วัฒกวิกรานต์ นลินี รุ่งเรืองศรี อุทัย รุ่งเรืองศรี
และ ศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ให้ไม่ไวแสงโดยวิธี
molecular marker-assisted backcrossing เพื่อปลูกในฤดูนาปรัง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 56 น.
วราภรณ์ แสงทอง ประทีป พิณตานนท์ พันนิพา ยาใจ พึ่งพร เนียมทรัพย์ และ ศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์. 2555. รายงานฉบับสมบูรณ์
โครงการการศึกษาพันธุ์ขั้นต้น และการทดสอบผลผลิตเบื้องต้นของข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข6 ไม่ไวต่อช่วงแสง. เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 177 น.
Doi, K., T. Izawa, T. Fuse, U. Yamanouchi, T. Kubo, Z. Shimatani, M. Yano and A. Yoshimura. 2004. Ehd1, a B-type response
regulator in rice, confers short-day promotion of flowering and controls FT-like gene expression independently of Hd1.
Genes Dev. 18:926–936.
Fujino, K. and H. Sekiguchi. 2005. Mapping of QTLs conferring early heading date in rice (Oryza sativa L.). Theor Appl
Genet. 111:393–398.
Yano, M., Y. Harushima, Y. Nagamura, N. Kurata, Y. Minobe and T. Sasaki. 1997. Identification of quantitative trait loci
controlling heading date in rice using a high-density linkage map. Theor Appl Genet. 95:1025–1032.
Yano, M., Y. Katayose, M. Ashikari, U. Yamanouchi, L. Monna, T. Fuse, T. Baba, K. Yamamoto, Y. Umehara, Y. Ngamura
and T. Sasaki. 2000. Hd1, a major photoperiod sensitivity quantitative trait locus in rice, is closely related to the
Arabidopsis flowering time gene CONSTANS. Plant Cell. 12:2473–2484.
Yano, M., S. Kojima, Y. Takahashi, H.X. Lin and T. Sasaki. 2001. Genetic control of flowering time in rice, a short-day plant.
Plant Physiol. 127:1425–1429.