ความชุกและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Staphylococcus aureus ที่แยกได้จากฟาร์ม สุกรในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Staphylococcus aureus
(S. aureus) ที่แยกได้จากฟาร์มสุกรในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างด้วยวิธีการป้ายที่ตำแหน่ง
ผิวหนังของสุกร (Skin Swab) รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 180 ตัวอย่าง (12 ฟาร์ม ฟาร์มละ 15 ตัวอย่าง) จากนั้นทำการทดสอบ
ด้วยวิธี Direct plate count และพิสูจน์เอกลักษณ์ของเชื้อด้วยวิธีมาตรฐานทางจุลชีววิทยา พบเชื้อ S. aureus จำนวน
35 ตัวอย่างจาก 180 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 19.44 เมื่อนำไปทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ โดย Disc diffusion
method 6 ชนิด พบว่าเชื้อ S. aureus มีความไวต่อยา Cephalothin มากที่สุดถึง 28 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 80.00
และไวต่อยา Amoxicillin+clavulanic acid จำนวน 25 ตัวอย่าง (71.00%), Gentamicin 22 ตัวอย่าง (62.00%),
Kanamycin 21 ตัวอย่าง(60.00%), Enrofloxacin 14 ตัวอย่าง (40.00%) และ Penicillin 16 ตัวอย่าง (17.00%)
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
go.th/Annual/AESR2013/annual/Food_poisoning.pdf, 29 สิงหาคม 2559.
กรมปศุสัตว์. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ปี 2558. แหล่งที่มา: http://ict.dld.go.th/th2/images/stories/stat_web/yearly/2558/4.
buffpig_region.pdf, 26 กุมภาพันธ์ 2561.
ชุลีพร ศักดิ์สง่าวงษ์ ภาวิน ผดุงทศ ดวงพร พิชผล และ นิตยา ชะนะญาติ. 2548. การเปรียบเทียบการใช้สารป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ในการเตรียมพลาสม่ากระต่ายเพื่อใช้ทดสอบ Staphylococcus aureus โดยวิธี coagulase test. สัตวแพทย์สาร. ปีที่ 56
(เล่มที่ 1).
ณัฐธิดา สุขสาย ณัฐพร รัฐบำรุง พักตร์วิภา สุวรรณพรหม และ หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล. 2559. การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์:
กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. ว. เภสัชกรรมไทย 8(2) : 282-294.
ธีรพรรณ ภูมิภมร และ อุไม บิลหมัด. 2554. การดื้อยาของเชื้อ Staphylococcus aureus ในเนื้อสุกรจากโรงฆ่าสัตว์ ในภาคใต้ของ
ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551. ว.สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ 6(1) : 1-8.
นิติพงษ์ ศิริวงศ์ และ เอกชัย ชูเกียรติโรจน์. 2552. การดื้อยาปฏิชีวนะของ staphylococcus aureus และแนวทางการควบคุม. สงขลา
นครินทร์เวชสาร. 27: 347-358.
ประภาส พัชนี, อรพรรณ อาจคำภา และ เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย. 2556. การจำแนกลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรมของเชื้อ
Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อยาเมทธิซิลินที่เพาะแยกได้จากสุกรและคน. ในงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการจ?ำแนกลักษณะ
ทางกายภาพและพันธุกรรมของเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อยาเมทธิซิลินที่เพาะแยกได้จากสุกรและคน. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
วลัยพร ตนพิทักษ์. 2556. แบคทีเรียวิทยาทางสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. หจก. มีนเซอร์วิสซัพพลาย. กรุงเทพฯ. 430.
ยุทธนา สุดเจริญ. 2555. การประเมินประสิทธิภาพ latex agglutination test สำหรับตรวจคัดกรอง Staphylococcus aureus ดื้อต่อยา
Methicillin ที่แยกได้จากผู้ป่วยมะเร็ง. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เลิศพงษ์ บุญชู. 2548. การพัฒนาระบบวัดความไวของแบคทีเรียต่อสารต้านจุลชีพโดยเทคนิค Disc Diffusion. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาอุปกรณ์การแพทย์ ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุวัฒน์ มลิจารย์ และ ศิรินทร์ทิพย์ วนาประเสริฐศักดิ์. 2555. การปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella spp. และ Staphylococcus aureus
ในเนื้อสัตว์จากตลาดสดและตลาดนัดในจังหวัดราชบุรี. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี.
Bennett, R.W. and G.A. Lancette. 2001. Staphylococcus aureus. In: Bacteriological analytical, Available source:
http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071429.htm, 29 August 2015.
Lowy, F.D. 2003. Antimicrobial resistance: the example of Staphylococcus aureus. J. Clin. Invest. 111(9) :1265-1273.
National Committee for Clinical Laboratory Standards. Approved standards M2-A8. For antimicrobial disk susceptibility tests,
8th ed. NCCLS, Wayne, Pa, 2003.
Schito, G.C. 2006. The importance of the development of antibiotic resistance in Staphylococcus aureus. J. Clin. Microbiol.
Infect. 12(1): 3-8.
Quinn P.J., B. Markey, M. E. Carter, W. J. Donnelly and F. C. Leonard. 2002. Veterinary Microbiology and Microbial Disease.
Cornwall: Blackwell Science Ltd. Pp. 43-48.