ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นต้น ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
ขั้นต้น ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จาก
ประชากร จำนวน 84 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการศึกษา
พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ (ร้อยละ 59.5) จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 59.5)
ประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 33.3) ระยะเวลาของการดำเนินกิจการ 9 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 59.5) จำนวน
พนักงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 คน (ร้อยละ 85.7) เกินครึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี
ในการผลิตอาหารขั้นต้น (ร้อยละ 54.8) มีความรู้และการยอมรับหลักเกณฑ์ที่มีต่อหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
อาหารขั้นต้นในระดับดีมาก มีทัศนคติเชิงบวกต่อหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นต้น จากการทดสอบ
สมมติฐานพบว่า มีเพียงปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการยอมรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นต้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p < 0.01)
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงสาธารณสุข. 2555. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ขวัญตา กีระวิศาสกิจ. 2542. “การยอมรับมาตรฐาน ISO 9000 ของพนักงานโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขา
จิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาบัณฑิตวิทาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. “การวิเคราะห์องค์ประกอบ”. วารสารการวัดผลการศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, ฉบับที่ 20, พฤษภาคม 2541. หน้า58
ณัฐพล บุญรักษ์. 2548. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 ของ
พนักงานในโรงงาน กรณีศึกษา : บริษัท เอ็มเอ็มพี แพ็คเกจจิ้ง กรุ๊พ จำกัด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ปนัดดา อินทราวุธ. 2543. “การยอมรับมาตรฐาน ISO 14001 ของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คิวริตี้ ฟุตแวร์
จำกัด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาบัณฑิตวิทาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันชัย คำเจริญ. 2545. “ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานบริการโทรศัพท์งามวงศ์วานองค์การโทรศัพท์แห่ง
ประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการตลาด, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. หน้า 77.
ศรีวิไล ซุยเจริญ. 2546. “การศึกษาการยอมรับเกี่ยวกับข้อกำหนดการตรวจสถานที่ตามมาตรฐาน GMP ในทัศนะของสถานประกอบ
การน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
ศศิธร ธรรมจำนง. 2547. “การยอมรับมาตรฐาน HACCP ของพนักงานบริษัทผลิตน้ำมันพืชแห่งหนึ่ง.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาควิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2555. คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุ
ในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP). กรุงเทพฯ: สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
-------. 2543. คู่มือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน(ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. 2550. “โครงการสำรวจพฤติกรรมผ้บู ริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน
และท้องถิ่น ปี 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
Cochran, W.G. 1953. Sampling Techniques. Experimental Designs, New York.
Menale Kassie, Precious Zikhali, Kebede Manjur, and Sue Edwards. 2009. Adoption of Organic Farming Tecniques.
Environment for Development. EfD DP 09-01.
Wayne G. Ganpat and Deokee Bholasingh. 2010. Attitudes of Farmers Toward Farming in Trinidad. International
Agricultural and Extension Education.