ผลของความถี่ในการให้น้ำต่อการแตกของผลมะพร้าวน้ำหอม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแตกของผลมะพร้าวน้ำหอมเป็นอาการผิดปกติที่สร้างความเสียหายให้กับผลมะพร้าวน้ำหอมเป็นจำนวน
มาก ซึ่งสาเหตุของการเกิดการแตกของผลมะพร้าวน้ำหอมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากข้อมูลการศึกษาการแตกของผล
มะพร้าวพบว่า ช่วงเดือนที่พบการแตกของผลมะพร้าวจะมีความแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง
กลางวันและกลางคืนที่กว้างกว่าช่วงเดือนที่ไม่พบการแตกของผลมะพร้าว นอกจากนั้นยังพบความแปรปรวนของ
ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่าในช่วงเดือนที่ไม่พบการแตกของผลมะพร้าว ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศจึงอาจจะ
มีผลต่อการแตกของผล การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความถี่ในการให้น้ำต่อการลดอาการผล
แตกในมะพร้าวน้ำหอม โดยทำการศึกษาในสวนของเกษตรกรอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เดือน
พฤศจิกายน 2556 ถึง มีนาคม 2557 จากผลการศึกษาพบว่า การให้น้ำที่มีความถี่มากขึ้นได้แก่ การให้น้ำ 2 วัน และ
3 วันต่อครั้ง สามารถลดการแตกของผลมะพร้าวน้ำหอมได้ โดยมีความแตกต่างกันทางสถิติกับ control (ให้น้ำ 7 วัน
ต่อครั้ง) ในเดือนธันวาคม 2556 มกราคม 2557 และมีนาคม 2557 และแม้ว่าในบางเดือนจะไม่มีความแตกต่างกัน
ทางสถิติ แต่การให้น้ำที่มีความถี่มากขึ้นนั้นก็มีแนวโน้มที่มีผลแตกน้อยกว่า control ขณะที่การวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์
การแตกของผลเฉลี่ยจากทุกเดือนของเก็บตัวอย่างพบว่า การให้น้ำ 2 วัน และ 3 วันต่อครั้งมีเปอร์เซ็นต์การแตกของ
ผล 38.70 % และ 29.34 % ซึ่งต่ำกว่า control (60.40 %) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ทั้งนี้การเพิ่มความถี่
ของการให้น้ำไม่มีผลต่อคุณภาพภายนอกและภายในของผลมะพร้าวน้ำหอม ดังนั้นการให้น้ำที่มีความถี่มากขึ้น จึง
น่าจะสามารถช่วยลดการแตกของผลมะพร้าวน้ำหอมได้
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
regulators, and other chemicals. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 115: 405-411.
Christensen, J.V. 1996. Rain-induced fruit cracking of sweet cherries: Its cause and prevention, pp 297-327. In A.D. Webster
and N.E. Looney, eds. Cherries: Crop Physiology, Production and Uses. Cab International, U.K. 445 p.
Cline, J.A. and M. Trought. 2007. Effect of gibberellic acid on fruit cracking and quality of Bing and Sam sweet cherries.
Canadian J Plant Sci. 87(3):545-550.
Davenport, D.C., K. Uriu and R.H. Hagen. 1972. Antitranspirant film: curtailing intake of external water by cherry fruit to reduce
cracking. Hortsci. 7: 507-508.
French, R.D. 2011. Fruit cracking of tomato. Texas AgriLife Extension Service; The Texas A&M System
Glenn, M.G. and B.W. Poovaiah. 1989. Cuticular properties and postharvest calcium application influence cracking of sweet
cherries. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 114: 781-788.
Masarirambi, M.T., N. Mhazo, T.O. Oseni and V.D. Shongwe. 2009. Common physiological disorders of tomato
(Lycopersicon esculentum) fruit found in Swaziland. J. Agric. Soc. Sci. 5: 123–127
Ohta, K., N. Ito, T. Hosoki and Y. Sugi. 1991. Influence of relative humidity on fruit cracking of cherry tomato grown in
hydroponic culture and its control. J. Jap. Soc. Hort. Sci. 60: 337-343.
Opara, U.L., C.J. Studman, and N.H. Banks. 1997. Fruit skin splitting and cracking. Hort. Review. 19: 217-262.
Simon, G. 2006. Review on rain induced fruit cracking of sweet cherries (Prunus avium L.) its causes and the possibilities
of prevention. J. Hort. Sci. 12(3): 27-35.
Tongumpai, P. 1993. Strategies for machine harvesting of mature coffee (Coffea Arabica L.) fruit. Ph.D. Thesis, Oregon State
University, Corvallis.
Uriu, K., C.J. Hanson and J.J. Smith. 1962. The cracking of prunes in relation to irrigation. Proc. Amer. Soc. Hort. Sci. 80:
211-219.