ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการวางแนวปะการังเทียมต่อชาวประมงพื้นบ้านใน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการวางแนวปะการังเทียม
ที่มีต่อชาวประมงพื้นบ้านในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หลังจากการวางแนวปะการังเทียมที่ระยะห่างจากชายฝั่ง
5,000 เมตร ในปี 2557 โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากจำนวนตัวอย่างชาวประมงพื้นบ้านจำนวน
92 ครัวเรือนจากจำนวน ประชากร 251 ครัวเรือน ใน 4 ตำบลได้แก่ตำบลปากน้ำตำบลนาพญา ตำบลบางน้ำจืด
และตำบลบางมะพร้าวจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มตามขนาดของเรือประมง ผลการศึกษา พบว่าสัตว์น้ำ
ที่ชาวประมงสามารถทำการผลิตได้มากที่สุดคือ หมึก หลังจากการมีแนวปะการังเทียม ผู้ทำประมงทั้งสองกลุ่มที่มี
รายได้เท่ากันเฉลี่ยร้อยละ38ไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาในการออกไปทำประมงแต่ละวันเพิ่มขึ้นประเภทของสัตว์น้ำ
ที่มีมูลค่าสูงถูกจับได้มากขึ้นการพึ่งพารายได้จากการทำประมงเวลาพักผ่อนของชาวประมง ภาวะเงินออม ความเป็น
อยู่และคุณภาพชีวิตของชาวประมงทิศทางเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง. สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล.สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล.
กุลภา ขวัญมิ่ง และ พงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์. 2535. เศรษฐกิจการทำประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวพนัง; ทางเลือกในการประกอบอาชีพประมง
กับการจัดการประมงชายฝั่ง. น.517-549. ในสัมนาวิชาการประจำปี 2535 กรมประมง. ณ สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด. บางเขน.
กรุงเทพฯ.
พูนสิน พานิชสุข, ยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร และดุสิต ตันวิไลย. 2531. การติดตามผลแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล หน้าสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชายฝั่งแห่งชาติ ในปีที่ 4. รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2531. กรมประมง.
ภวัต เลิศมุกดา. 2551. การประเมินผลการดำเนินงานจัดสร้างปะการังเทียม กรณีศึกษาอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมพร บุญเกิด. 2527. การสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล. วารสารการประมง 37(4).
สุนันทา นิลเพชร. 2550. “อูหยา”...การอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำบ้านบ่ออิฐ. เข้าถึงได้จาก http://www.thaigo.org/story/news_61144.Htm.
อำนาจ ศิริเพชร,สพงศ์ สมชนะกิจ,นพรัตน์ เรืองปฏิกรณ์,สมเกียรติ อินทร์ชู และยุทธนา ราษฎร. 2545ก. แหล่งอาหารสัตว์ทะเล
ปี พ.ศ. 2545 โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เอกสารเผยแพร่ ฉบับที่ 3/2545.ศูนย์พัฒนาประมง
ทะเลอ่าวไทยตอนล่าง.สงขลา.
_____________________________________________. 2545ข. ผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดปัตตานี. เอกสารวิชาการ
ฉบับที่ 12/2545. กองประมงทะเล. กรมประมง.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อภิรักษ์ สงรักษ์,ผุสดี ศรีทรงราช และปรัดดา บรรฑิตชาติ.2549.ทัศนคติของชุมชนที่มีต่อการวางแนวปะการังเทียม:กรณีศึกษาบ้านเกาะ
มุก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
อุกฤต สตภูมินทร์. 2545. การเข้าครองพื้นที่และรูปแบบประชาคมปลาบนโครงสร้างแท่งคอนกรีตที่ใช้ ในการทดลอฟื้นฟูปะการัง. เอกสาร
วิชาการ ฉบับที่ 2/2545. สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล.กรมประมง.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Sherman, R.L.,Gilliam, D. S. And Spieler, R. E. 2002. Artificial reef design: void space, complexity and attreactants.ICES
Journal of Marine Science. 59: S196-S200.
Yamane, T. 1973.Statisties an introduction analysis (2 nd ed). New york: Harper & Row Publisher.