ผลของการเก็บรักษาข้าวเปลือกในบรรจุภัณฑ์ อุณหภูมิ และระยะเวลา ต่อคุณภาพของข้าวฮางงอก

Main Article Content

เวียงโขง วันสะหว่าง
วีรเวทย์ อุทโธ
เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด
วชิราพรรณ บุญญาพุทธิพงศ์
เมทินี มาเวียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเก็บรักษาข้าวเปลือก (ความชื้นเฉลี่ย เท่ากับ 14.25% น้ำหนักแห้ง)ในบรรจุภัณฑ์
อุณหภูมิ และระยะเวลาต่างๆ ต่อคุณภาพของข้าวฮางงอกตามการวางแผนดำเนินการทดลองและวิเคราะห์ผลการ
ทดลองในรูปแบบ 3x3x3 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) ปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาประกอบ
ด้วย ชนิดของบรรจุภัณฑ์ คือ ถุงกระสอบพลาสติกสาน (WPP) ถุง SuperGrainBagsTM(SGB) และถุงอลูมิเนียม
ลามิเนต (Al/PE) โดยน้ำหนักข้าวเปลือก เท่ากับ 500g ต่อถุง (ขนาด 17.5cm X 28cm) อุณหภูมิการเก็บรักษา
(25 35 และ 45ºC) และ ระยะเวลาการเก็บรักษาข้าวเปลือก (30 90 และ 180 วัน) ผลการศึกษาพบว่าก๊าซออกซิเจน
และคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงเก็บข้าวเปลือกชนิดพลาสติกสาน (WPP) ไม่มีความเข้มข้นที่แตกต่างจากอากาศปกติ
ในขณะที่ความเข้มข้นของก๊าซในถุง SGB และ Al/PE เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะปกติ โดยก๊าซออกซิเจนมีความ
เข้มข้นลดลง ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ในระหว่างการเก็บรักษาเปอร์เซ็นต์การงอกของข้าว
เปลือกในบรรจุภัณฑ์ชนิด WPP ที่เก็บรักษาในทุกอุณหภูมิลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ข้าวเปลือกที่บรรจุในถุง SGB และ
ถุง Al/PE เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 35ºC และ 45ºC มีระดับการงอกการงอกลดลงอย่างชัดเจนโดยเฉพาะการเก็บรักษาใน
ถุง Al/PE มีการลดลงเร็วที่สุด การเก็บข้าวเปลือกที่อุณหภูมิสูงและในบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ Al/PE ส่งผลให้ค่าสี
a* และ b* ข้าวฮางงอกในระหว่างการเก็บรักษามีค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าของค่าที่วัดในวันที่ 0 นอกจากนี้ค่า hº
ของข้าวฮางงอกลดลงจาก 84º เหลือเท่ากับ 76º ทำให้เห็นได้ว่าข้าวฮางงอกมีสีที่คล้ำมากขึ้น ค่าความแข็งของข้าว
ฮางงอกหุงสุกมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยเฉพาะเมื่อเก็บข้าวเปลือกในถุง SGB และ
Al/PE ที่อุณหภูมิ 35ºC และ 45ºC ในขณะที่ข้าวฮางงอกหุงสุกที่ผลิตจากข้าวเปลือกซึ่งเก็บรักษาในถุง WPP มีความ
แข็งน้อยที่สุด ปริมาณสาร γ-amino-butyric acid (GABA) ในข้าวฮางงอกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
การเก็บข้าวเปลือกในถุง SGB และ Al/PE ที่อุณหภูมิ 35ºC และ 45ºC งานวิจัยนี้แสดงให้ทราบว่าชนิดของบรรจุภัณฑ์
และสภาวะการเก็บรักษา (อุณหภูมิ และ ระยะเวลาการเก็บรักษา) ของข้าวเปลือกส่งผลต่อคุณภาพของข้าวฮางงอก
และสามารถสรุปได้ว่า การเก็บรักษาข้าวเปลือกในถุงกระสอบพลาสติกสาน ที่อุณหภูมิ 25ºC หรือ 35ºC ไม่เกิน 90
วัน เป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาข้าวเปลือกเพื่อเป็นแปรรูปเป็นข้าวฮางงอกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปาริชาต เข็มทอง, ธำรงค์ เมฆโหรา และสมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวหอมนิล ในเขตหนองจอก
กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 32: 27-35.
พัสกร เจียตระกุล. 2546. ถังเก็บอุณหภูมิต่ำสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
พรทิพย์ ถาวงค์, สุรพล ยศเทียม และ ชาลี ฐิตะฐาน. 2553. ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ด
พันธุ์ข้าว เอกสารประกอบงานประชุมวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ประจำปี 2553 ปราจีนบุรี.
176-185.
พลนน อ่อนไสว. 2554. การศึกษาผลกระทบของระยะเวลาการเก็บรักษา และรูปแบบในการขัดขาวที่มีผลต่อคุณภาพข้าวสาร. คณะ
วิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง.
วรนุช ศรีเจษฏารักข์, จารุรัตน์ สันเต และรัชฏา ตั้งวงค์ไชย. 2552.ผลของกระบวนการแช่ และกระบวนการงอกของข้าวกล้อง (หอมมะลิ105)
ต่อปริมาณสารแกมมาอะมีโนบิวเทอริกเอซิดในข้าวกล้องงอก.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38: (พิเศษ): 103-106.
เวียงโขง วันสะหว่าง, วีรเวทย์ อุทโธ, เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และ วชิราพรรณ บุญญาพุทธิพงศ์. 2557. ผลของกระบวนการผลิตของผู้ประกอบ
การขนาดย่อมต่อปริมาณ γ-amino-butyric acid ของข้าวฮางงอก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45: (พิเศษ): 185-188.
AOAC International 1995. Official methods of analysis of AOAC International. 16th ed. Arlington, VA, USA, Association of
Analytical Communities.
Chrastil, J. 1994. Stickiness of oryzenin and starch mixtures from preharvest and postharvest rice grains. J. Agric. Food
Chem. 42: 2174-2151.
Caliboso, F. M and G.C. Sabio. 1998. Hermetic storage of grains in the tropics. In: Nawa, Y., Takagi, H., and Oguchi,
A .(eds.), Postharvest Technology in Asia: a Step Forwards a Stable Supply of Food Products. The 5th JIRCAS
International Symposium, 9-10 September 1998, Japan. 59-72 p.
Champagne, E. T and C.C Grimm. 1995. Stabilization of brown rice products using ethanol vapors as an antioxidant
delivery system. Cereal Chem. 72: 255-258.
Champagne, E. T. Lyon., B. G. Min., B. K. Vinyard., K. L. Bett., F. E. Bartoll., B. D. Webb., A. M. McClung., K. A.
Moldenhauer, S. Linscombe., K.S. Mckenzie and D. E. Kohlwey. 1998. Effects of postharvest processing on texture
profile analysis of cooked rice. Cereal Chem. 75: 181-186.
Chung, H.J., S.H. Jang., H.Y. Cho and S.T. Lim. 2009. Effects of steeping and anaerobic treatment on GABA
(γ-aminobutyric acid) content in germinated waxy hull-less barley. LWT-Food Sci. Technol. 42:1712-1716.
Dillahunty, A.L., T.J. Siebenmorgen., R.W. Buescher., D.E. Smith and A. Mauromoustakos. 2000. Effect of moisture content
and temperature on respiration rate of rice. Cereal Chem. 77:541-543.
Dillahunty, A.L., T.J. Siebenmorgen., R.W. Buescher., D.E. Smith and A. Mauromoustakos . 2001. Effect of temperature,
exposure duration, and moisture content on color and viscosity of rice. Cereal Chem. 78:559–563.
Emekcl, M., S. Navarro., J.E. Donahaye and A. Azriell. 2001. Respiration of stored product pest in hermetic conditions, pp
26-35. In: Donahaye, E. J., S. Navarro and J.G. Leesch (eds). Proc. Int. Conf. Controlled Atmosphere and Fumigation
in Stored Products, Fresno, CA, USA.
ISTA. 2008. International Rules for Seed Testing. ISTA, Bassersdrof, CH. Switzerland.
Juliano, B.O. 1985. Rice hull and rice straw. In Rice Chemistry and Technology, 2d ed. American Association of Cereal
Chemists. St. Paul, Minnesota, USA.
Komatsuzaki, N., K. Tsukahara., H. Toyoshima., T. Suzuki., N. Shimizu and T. Kimura. 2007. Effect of soaking and gaseous
treatment on GABA content in germinated brown rice. J. Food Eng. 78: 556–560.
Martin, M and M. A. Fitzgerald. 2002. Proteins in rice grains influence cooking properties. J. Cereal Sci. 36: 285-294.
Manthey, F. A and Y. Xu. 2010. Glycobiology of foods: Food carbohydrates-Occurrence, production, food uses and
healthful properties. Fatih Yildiz ed. Advances in Food Biochemistry. CRC Press. Boca Raton. London, New York. 23-49
Mayer, R.R., J. H. Cherry and D. Rhodes. 1990. Effects of heat shock on amino acid metabolism of cowpea cells. Plant
Physiol. 94: 796-810.
McGuire, R.G. 1992. Reporting of objective color measurements. HortScience. 27 : 1254-1255.
Primo, E., C. Benedito-Barber and S. Barber. 1970. The Chemistry of rice aging. Proceeding 5th World Cereal and Bread
Congress, Dresden, 4/59-4/68. Publishing Company Inc., Lancaster PA. 231-245.
Pantadol, J., Wang, Y.J and J.L. Jane. 2005. Structure-functionality changes in starch following rough rice storage. Starch/
Stärke. 57: 197-207.
Pisitkul, K. 2009. Physico-chemical properties and cooking quality of freshly harvested paddy CV. Khao Dawk Mali 105 as
affected by accelerated aging factors. Chiang Mai University.116 pp.
Robertson, G.L. 1993. Permeability of thermoplastic polymers. Food Packaging: Principles and Practice. New York: Marcel
Dekker.
Swamy, I.Y.M., C.M. Sowbhagya and K.R. Bhattacharya. 1978. Changes in physicochemical properties of rice with aging.
J. Sci. Food Agric. 29: 627-639.
Song, Y., N. Vorsa and K. Yam. 2002. Modeling respiration–transpiration in a modified atmosphere packaging system
containing blueberry. J. Food Eng. 53: 103–109.
Soraya, K and P.Tongchai. 2015. Characteristics of Hang rice and its cooking. KKU Res. J. 20: 26-33.
Varanyanond, W., P. Tungtrakul and V. Surojanametakul. 2005. Effects of water soaking on γ-amino butyric acid (GABA)
in germ of different Thai rice varieties. Kasetsart J. (Nat Sci). 39: 411-415.