การรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทางการเกษตรของข้าว (Oryza sativa L.) พันธุ์พื้นเมืองไทย

Main Article Content

ประพฤติ พรหมสมบูรณ์
ทรงศักดิ์ จันทร์อุดม
อนุสสรณ์ วิเศษสิงห์
สุธัญญา พรหมสมบูรณ์
คัชชา กาญจนจันทร์

บทคัดย่อ

ทำการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2554 - มีนาคม
2556 ได้จำนวน 89 พันธุ์ เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมได้ไปทดสอบความงอกในสภาพแปลง พบว่าในจำนวน 89 พันธุ์
มีเพียง 31 พันธุ์เท่านั้นที่เมล็ดพันธุ์มีความงอกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และให้ต้นกล้าที่แข็งแรง เจริญเติบโตในสภาพ
แปลงได้อย่างสม่ำเสมอ จากนั้นจึงย้ายต้นกล้าของทั้ง 31 พันธุ์ไปปลูกศึกษาลักษณะทางการเกษตรเปรียบเทียบกับ
พันธุ์ไรซ์เบอรี่ (Riceberry) และขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105 ) ในแปลงนาของเกษตรกร อำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี ในฤดูฝน (ก.ค.-ธ.ค.) ปี พ.ศ. 2556 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (randomized
complete block design) จำนวน 2 ซ้ำ ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร ปลูก 12 กอ/แถว จำนวน 3 แถว/หน่วยทดลอง
เก็บข้อมูลจากแถวกลาง 10 กอ/หน่วยทดลอง บันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ และองค์ประกอบของผลผลิต ได้แก่
ความสูงต้น ความยาวรวง น้ำหนักรวง และจำนวนข้าวเต็มเมล็ด/รวง ผลการทดลองพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์
เปรียบเทียบ มีความสูงต้น ความยาวรวง น้ำหนักรวง และจำนวนข้าวเต็มเมล็ด/รวง แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.01)
โดยข้าวพันธุ์ไม่มีชื่อหมายเลข 2 (Unknown 2) ดำหมอ (Dammore) และไอ้โข่ง (Aye Khong) เป็นข้าวพื้นเมือง 3
พันธุ์ที่มีน้ำหนักรวงและจำนวนข้าวเต็มเมล็ด/รวง สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ คือมีน้ำหนักรวงเท่ากับ 6.47 6.07 และ
6.0 กรัม/รวง ตามลำดับ และมีจำนวนข้าวเต็มเมล็ดเท่ากับ 276.0 236.0 และ 317.0 เมล็ด/รวง ตามลำดับ ขณะที่
พันธุ์ไรซ์เบอรี่และขาวดอกมะลิ 105 มีน้ำหนักรวง 5.10 และ 4.77 กรัม/รวง และมีจำนวนข้าวเต็มเมล็ด 180.0 และ
215.0 เมล็ด/รวง ตามลำดับ และพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั้ง 31 พันธุ์มีลำต้นสูงกว่าพันธุ์ไรซ์เบอรี่ และพันธุ์พื้นเมือง
17 พันธุ์จาก 31 พันธุ์มีลำต้นสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. ลักษณะและคุณค่าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรุงเทพฯ. ISBN974-436-227-8.
จรัญจิต เพ็งรัตน์ และสุวัฒน์ เจียระคงมั่น. 2552. “ข้าวเหนียวดำ” หลากประโยชน์ หลายแนวคิด เสริมเศรษฐกิจไทย สู่สากล. ใน. การ
ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. โรงแรม ซีบรีท จอมเทียน พัทยา. หน้า 325-342. แหล่งที่มา : http://www.
brrd.in.th/main/document/Pattaya52%20report/25.pdf, วันที่ 15 ธันวาคม 2558.
รุจิรา ปรีชา สุนันทา วงศ์ปิยชน กัญญา เชื้อพันธุ์ วัชรี สุขวิวัฒน์. 2554. คุณภาพเมล็ดและโภชนาการของข้าวพันธุ์ดีและพันธุ์พื้นเมือง
ภาคใต้. อ้างโดย บุญลือ คเชนทร์ชาติ วัลลภ พงษ์ยืน เมธา มีแต้ม ปัทมา ศิริธัญญา ชุติมา คูหากาญจน์ อุษณีษ์ พิชกรรม กุศล
ภูธนกิจ วิษุวัต สงนวล และ ถาวร ใจเพชร. 2557. ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนที่มีอยุ่ในดินของข้าวพื้นเมืองไทย 5 สายพันธุ์,
น.183-190. ใน การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติครั้งที่ 2, 21-23 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด, กรุงเทพฯ.
เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2555. ความหลากหฟลายของพันธุกรรมข้าวท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์, น. 29-31. ใน การประชุมวิชาการข้าว
แห่งชาติครั้งที่ 2, 21-23 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด, กรุงเทพฯ.
บุญลือ คเชนทร์ชาติ วัลลภ พงษ์ยืน เมธา มีแต้ม ปัทมา ศิริธัญญา ชุติมา คูหากาญจน์ อุษณีษ์ พิชกรรม กุศล ภูธนกิจ วิษุวัต สงนวล
และ ถาวร ใจเพชร. 2557. ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนที่มีอยุ่ในดินของข้าวพื้นเมืองไทย 5 สายพันธุ์,น. 183-190. ใน การประชุม
วิชาการข้าวแห่งชาติครั้งที่ 2, 21-23 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด, กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว. 2559. ข้าวไรซ์เบอรี่ แหล่งที่มา : http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/articles-rice-rsc-rgdu-knowledge/
29-2015- 03-27-02-04-15/53-riceberry, วันที่ 15 ธันวาคม 2558.
Barry, M.B ; Pham , J.L , Courtois B. , Biliot , C. and Ahmadi , N. 2006. Rice genetic diversity at farm and village levels and
genetic structure of local varieties reveal need for in situ conservation. Genet. Resour Crop Evol. DOI 10.
Benjavan Rerkasem and Kanok Rerkasem. 2002. Agrodiversity for in situ conservation of Thailand’s native rice germplasm.
CMU. Journal . 1(2): 129-148. Available source: http://cmuj.cmu.ac.th/sites/default/files/styles/thumbnail/may
2002-1f.pdf, 15 Dec 2015.
Salih , A. ; T. Sreewongchai ; P. Sripichitt and N. Parinthawong. 2013. Identification of blast-resistant varieties from landrace,
Improved and wild species of rice . Kasetsart J. (Nat. Sci.). 47: 1-7.