การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า

Main Article Content

วิจิตรา เหลียวตระกูล
วชิรญา เหลียวตระกูล
ปรียานุช เพียนเลี้ยงชีพ
รวีวรรณ เดื่อมขันมณี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารเคมีตกค้างในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักที่ปลูกและจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศึกษาผลของวิธีการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักตัวอย่าง โดยใช้ชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค ตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักตัวอย่างจำนวน 150 ตัวอย่าง จากผัก 21 ชนิด เป็นตัวอย่างผักที่ปลูกในพื้นที่จำนวน 65 ตัวอย่าง และผักจากแหล่งจำหน่ายในพื้นที่จำนวน 85 ตัวอย่าง ผลการวิจัยด้วยชุดทดสอบพบว่า จากตัวอย่างผักทั้งหมด 150 ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่มีสารเคมีตกค้างในระดับปลอดภัยจำนวน 81 ตัวอย่าง (ร้อยละ 54 ของผักทั้งหมด) เป็นผักที่ปลูกและจำหน่ายในพื้นที่จำนวน 45 และ 36 ตัวอย่าง ตามลำดับ ตัวอย่างที่มีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 69 ตัวอย่าง (ร้อยละ 46 ของผักทั้งหมด) เป็นผักที่ปลูกและจำหน่ายในพื้นที่จำนวน 20 และ 49 ตัวอย่าง ตามลำดับ จากการทดสอบพบว่า ชะอม ผักสลัด มะระ และเห็ดพบสารเคมีตกค้างในระดับปลอดภัยเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนผักแต่ละชนิดที่นำมาทดสอบ แต่ผักที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยมากที่สุดคือ ตะไคร้ ผักหวาน และผักชี (ร้อยละ 80, 80 และ 71 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการล้างผักด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตสามารถกำจัดสารเคมีตกค้างในผักคะน้าได้

Article Details

How to Cite
เหลียวตระกูล ว., เหลียวตระกูล ว., เพียนเลี้ยงชีพ ป., & เดื่อมขันมณี ร. (2020). การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(1), 131–138. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/185608
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. 2560. สถิติสาธารณสุข ฉบับเต็ม ปี พ.ศ. 2550-2556. http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/

index.htm.

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. 2553. หลากหลายวิธีลดสารพิษตกค้างในผักและผลไม้. นนทบุรี: กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

ไกรศรี ศรีทัพไทย. 2561. การตรวจสอบสารพิษตกค้างพืชสมุนไพร กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร ตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร.

วารสารแก่นเกษตร 46 (1): 841-846.

คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. 2556. กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

จารุพงศ์ ประสพสุข, ปริยานุช สายสุพรรณ์ และวัชราพร ศรีสว่างวงศ์. 2557. การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้เพื่อการรับรอง

ระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารแก่นเกษตร 42 (2): 430-439.

จิราพร ใจเกลี้ยง, ศิริพร จันทร์มณี และอรพรรณ หนูแก้ว. 2555. การตรวจหายาฆ่าแมลงตกค้างในผักจากตลาดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

น. 263-271. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดนัย ศิริพรทุม. 2547. ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกกะหล่ำปลี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทิรา หงษ์ศรีสุวรรณ. 2557. ความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผักปลอดสาร. วารสาร มฉก.วิชาการ 18 (35): 107-117.

พรรณเกษม แผ่พร. 2540. สารกำจัดแมลง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 11 (2): 157-166.

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน และศรมน สุทิน. 2559. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

(1): 22-30.

ภาณุพันธุ์ อิ่นแก้ว และสยาม อรุณศรีมรกต. 2558. การศึกษาเปรียบเทียบสารกำจัดแมลงตกค้างในผักใบเขียวของการปลูกพืชแบบทั่วไป

แบบปลอดสารพิษ และแบบอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 33 (3): 54-73.

มาหามะรูซี ยามี. 2558. สารฆ่าแมลง ภัยใกล้ตัว. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 29 (2): 110-116.

ราเมศ กรณีย์ และพิมพ์ใจ ปรางสุรางค์. 2559. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการล้าง เพื่อกำจัดสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผักสด. วารสารอาหารและยา 23 (1): 34-42.

วนิดา จันทร์สม. 2556. การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการล้างผักกะหล่ำปลี และผักกาดขาวเพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างกลุ่มไพรีทรอยด์.

ธรรมศาสตร์เวชสาร 13 (1): 71-78.

วนิดา แจ่มจันทร์. 2546. ความตระหนักและพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการปลูกผักของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาคร ศรีมุข. 2556. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2558. ด้านเกษตรกรรมข้อมูลด้านพืช. http://www.ayutthaya.go.th/Ayu/Agriculture.html.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2556. โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผักสดปลอดสารเคมี. http://www.Thailabonline.com/

food_safety.htm.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2560. สถานการณ์ปัญหาด้านความปลอดภัยอาหาร ปีงบประมาณ 2555-2556.

https://www.m-society.go.th/article_attach/12609/16900.doc.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชปี 2551-2555. http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146.

สิริกัลยา คำนาน. 2552. ความตระหนักของเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกข้าวโพดในตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพร ใจการุณ, สังวาล สมบูรณ์ และสามารถ วันชะนะ. 2556. การตกค้างของสารเคมีฆ่าแมลงในผักพื้นบ้านอีสานและอาหารท้องถิ่น.

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 (3): 122-129.