การจำแนกความเหมาะสมของดินอัลทิซอลส์และแอลฟิซอลส์ในสวนลองกอง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบลักษณะดินอัลทิซอลส์ 3 บริเวณ และแอลฟิซอลส์ 3 บริเวณ ในสวนลองกอง อำเภอ
ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการปลูกลองกองมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อหาสมบัติและความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกลองกอง ใช้การศึกษาสัณฐานวิทยา สมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของดิน เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์และจำแนกชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกลองกอง รวมทั้งหาปริมาณการสะสมธาตุอาหารในดินสำหรับการประเมินการเติบโตของลองกอง ผลการศึกษาพบว่า ดินทุกบริเวณเป็นดินลึกถึงลึกมาก เนื้อดินบนเป็นดินร่วนถึงดินร่วนเหนียว เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว ปริมาณกรวดในชั้นดินบนของดินแอลฟิซอลส์มีมากกว่าดินอัลทิซอลส์ โดยดินอัลทิซอลส์จำแนกได้เป็น
กลุ่มดินย่อย Typic Paleustults และ Typic Haplustults ส่วนดินแอลฟิซอลส์จำแนกได้เป็นกลุ่มดินย่อย Ultic Paleustalfs และ Ultic Haplustalfs พีเอชดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสและ
การสะสมธาตุอาหารในดินอัลทิซอลส์มีค่าต่ำกว่าดินแอลฟิซอลส์ ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ทั้งสองอันดับมีค่าใกล้เคียงกัน ความอุดมสมบูรณ์ของดินในดินแอลฟิซอลส์อยู่ในระดับสูงกว่าดินอัลทิซอลส์ ส่งผลให้การเติบโตของต้นลองกองในดินอัลทิซอลส์น้อยกว่าดินแอลฟิซอลส์อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) แต่มีข้อจำกัดเรื่องสภาพพื้นที่และปริมาณกรวด ดินแอลฟิซอลส์จัดอยู่ในชั้นที่ไม่ค่อยเหมาะสม ส่วนดินอัลทิซอลส์มีความเหมาะสมปานกลาง หากต้องการใช้ที่ดินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมด้วย
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
กรมแผนที่ทหาร. 2542. แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 จังหวัดอุตรดิตถ์ (5044III) ลำดับชุด L7018. กรุงเทพฯ: กระทรวงกลาโหม.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดิน เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่ม 2 ดินบนที่ดอน.
กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. สถานภาพทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กองสำรวจและจำแนกดิน. 2543. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 453.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จำเป็น อ่อนทอง, สุรชาติ เพชรแก้ว, มงคล แซ่หลิม และจรัสศรี นวลศรี. 2548. การปรับปรุงดินและความต้องการธาตุอาหารของลองกอง.
รายงานวิจัย. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนานิติ ธิชาญ, สุนทร คำยอง, นิวัติ อนงค์รักษ์ และพันธุ์ลพ หัตถโกศ. 2561. สมบัติทางกายภาพเคมีของดินในพื้นที่เหมืองแร่และป่าปลูก
เพื่อการฟื้นฟูที่ดินเหมืองแร่ลิกไนต์บ้านปู อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารเกษตร 34(3): 425-436.
พจนีย์ แสงมณี, อำพรรณ พรมศิริ และฮิโรโตชิ ทามูระ. 2554. สถานะธาตุอาหารพืชในสวนทุเรียนและลองกองในระบบวนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารเกษตร 27(2): 197-208.
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. 2561. สถิติภูมิอากาศ พ.ศ. 2531-2560 (30 ปี). กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สถาบันวิจัยพืชสวน. 2561. การผลิตลองกองให้มีคุณภาพ. เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8. 2552. รายงานเขตการใช้ที่ดินระดับตำบล จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2560. เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุเทพ โสมภีร์. 2549. Crop requirement: ลองกอง. เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุพพัตพงศ์ เขื่อนแก้ว. 2558. บทบาทของระบบนิเวศวนเกษตรที่มีไม้ผลเป็นพืชหลักต่อปริมาณการสะสมคาร์บอน ธาตุอาหารและน้ำ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์), สาขาปฐพีศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2552. คู่มือปฏิบัติการ การสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Brady, N. C., and Weil, R. R. 2002. The nature and properties of soils. 13th ed. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Bray, R. A., and Kurtz, L. T. 1945. Determination of total organic and available form of phosphorous in soil. Soil Science 59: 39-45.
Buol, S. W., Southard, R. J., Graham, R. C., and Mcdaniel, P. A. 2003. Soil genesis and classification. 5th ed. Iowa: Iowa State Press.
Fisher, R. F., and Binkley, D. 2000. Ecology and management of forest soils. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons.
National Soil Survey Center. 1996. Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Washington D.C.: U.S. United States Department of Agriculture, Government Publishing Office.
Nelson, D. W., and Sommers, L. E. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter. In Method of Soil Analysis; Part III. Chemical Methods, Bigham, J. M., ed. pp. 961-1010. Madison, Wisconsin: American Society of Agronomy, Inc.
Pratt, P. E. 1965. Potassium. In Method of Soil Analysis. Part II. Chemical and Microbiological Properties, Black, C. A. ed.
pp. 1022-1030. Madison, Wisconsin: American Society of Agronomy, Inc.
Sanchez, P. A., Palm, C. A., and Buol, S. W. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma 114: 157-185.
Soil Survey Staff. 2014. Key to soil taxonomy. 12th ed. USDA-NRCS, Washington D.C.: U.S. Government Publishing Office.
Summer, M. E., and Miller, W. P. 1996. Cation exchange capacity and exchange coefficients. In Method of Soil Analysis; Part III. Chemical Methods, J. M. Bigham, ed. pp. 1021-1229. Madison, Wisconsin: American Society of Agronomy, Inc.