การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเครื่องหมายโมเลกุลชนิด SSR

Main Article Content

ชยุต ศรีฮาก์ณู
จิรวัฒน์ สนิทชน
ช่อแก้ว อนิลบล

บทคัดย่อ

ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นแหล่งของความแปรปรวนในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์พืช งานวิจัยครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองจำนวน 95 สายพันธุ์ที่ปลูกทดสอบในจังหวัด
สกลนคร โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับเครื่องหมายโมเลกุล เก็บข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยา และสร้างลาย
พิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวแต่ละสายพันธุ์ โดยใช้ไพรเมอร์ชนิด SSR จำนวน 24 ไพรเมอร์ ข้อมูลที่ได้นำมาสร้าง dendogram
ด้วยวิธี UPGMA ผลการทดลองพบว่า ลักษณะทางสัณฐานวิทยาสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ข้าวพื้น
เมืองได้ ลักษณะของสีเปลือกเมล็ดมีความหลากหลายมากที่สุดในเชื้อพันธุกรรมนี้เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะอื่นๆ
นอกจากนี้พบว่า ค่า similarity matrix อยู่ในช่วงระหว่าง 0.66 – 0.92 ซึ่งข้าวพันธุ์ PSRR27 (อีโพน 2) มีความใกล้ชิดทาง
พันธุกรรมกับข้าวไร่พันธุ์ PSRR29 (หวัน 2) มากที่สุด โดยมีค่า similarity matrix เท่ากับ 0.92 ผลของการจัดกลุ่มทาง
พันธุกรรมพบว่า สามารถจัดกลุ่มข้าวพื้นเมือง 95 สายพันธุ์ได้ทั้งหมด 7 กลุ่ม และพบค่า cophenetic correlation เท่ากับ
0.75 ซึ่งถือว่า การจัดกลุ่มของเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิยา พนมจันทร์ และ วิจิตรา อมรวิริยะชัย. 2554. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำทะเลน้อย
จังหวัดพัทลุง โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ด. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 9: 25-31.
เปรมกมล มูลนิลตา จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์ ณัฏฐนิช ถาวรแก้ว และ กัญญานัย แก้วสง่า. 2557. การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรม
ข้าวพืน้ เมอื งในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. สมั มนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง. หน้า344-355.
เรืองวุฒิ ชุติมา กวี สุจิปุลิ สหณัฐ เพชรศรี และ ธัชคณิน จงจิตวิมล. 2559. การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของ
ข้าวพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. 8:23-34.
สรพงศ์ เบญจศรี. 2554. เครื่องหมายโมเลกุลส?ำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืช. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 39: 350-363.
Dellaporta S.L., J. Wood and J.B. Hicks.1983. A plant DNA minipreparation: version II. Plant Molecular Biology Reporter
1: 19-21.
IRRI. 1996. Standard Evaluation System for Rice. IRRI. Philippines.
Kumbhar, S.D., P.L. Kulwal, J.V. Patil, C.D. Sarawate, A.P. Gaikwad and A.S. Jadhav. 2015. Genetic diversity and population
structure in landraces and improved rice varieties from india. Rice Sci. 22: 99-107.
Lin, H.Y., Y.P. Wu, A.L. Hour, S.W.Ho, F.J.Wei, Y.C.Hsing and Y.R. Lin. 2012. Genetic diversity of rice germplasm used in
Taiwan breeding programs. Bot Stud. 53: 363-376.
Patil A. H., V. Premi, V. Sahu, M. Dubey, G. R. Sahu and G. Chandel. 2014. Identification of elite rice germplasm line
for grain protein content, SSR based genotyping and DNA fingerprinting. Int. J. Pl. An and Env. Sci. 4: 127-136.
Rabbani, M. A., Z. H. Pervaiz and M. S. Masood. 2008. Genetic diversity analysis of traditional and improved cultivars
of Pakistani rice (Oryza sativa L.) using RAPD markers. Electron. J. Biotechnol. 3: 1-10.
Sirithunya, P., E. Roumen, S. Mongkolsomrit, S. Sriprakhon, P. Hutamekalin and T. Sreewongchai. 2001. Instruction manual
workshop on molecular genetic analysis on diversity of blast pathogen in Thailand. Yothee laboratory Unit Bangkok,
Thailand.