ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อหมี่โคราชตราดอกจิก ของผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ประภาพร ชุลีลัง
ปัญญา หมั่นเก็บ
สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อหมี่โคราช
ตราดอกจิกของผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อหมี่โคราชตราดอกจิกและมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
พรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานสำหรับทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ
ทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย
พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,001 บาท ส่วนพฤติกรรมการซื้อหมี่โคราชตราดอกจิกพบว่า
เหตุผลที่เลือกซื้อหมี่โคราชตราดอกจิกเนื่องจากรสชาติอร่อย ความถี่ในการซื้อต่อเดือน เฉลี่ย 3.1 ครั้ง ปริมาณในการ
ซื้อต่อครั้งเฉลี่ย 0.9 กิโลกรัม ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง 60.7 บาท สถานที่ซื้อส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าปลีก ส่วนใหญ่
ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อหมี่โคราชตราดอกจิกในภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก ( = 4.25) และผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมากทุกด้าน จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า
อายุ สถานภาพสมรส และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่แตกต่างกัน พฤติกรรมในการซื้อหมี่โคราชตราดอกจิกด้าน
ความถี่ในการซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดกับพฤติกรรมการซื้อหมี่โคราชตราดอกจิก พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการ จัดจำหน่าย
และการส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ความเป็นมาของผัดหมี่โคราช. 2558. [Online] เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/plocho1126/3. [29 พ.ย. 2558].
จังหวัดนครราชสมี า. 2560. แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ทบทวนปี พ.ศ. 2560. [Online] เข้าถึงได้จาก
www.nakhonratchasima.go.th/korat2528/. [5 ต.ค. 2561].
ชรตรา วุฒิภาพและศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2557. การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการซื้ออาหารพร้อมรับประทานซีพีของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานคร. ว.วิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1(2): 64-77.
ฐิตาภา พรหมสวาสดิ.์ 2555. ปัจจยั ดา้ นส่วนประสมทางการตลาดทีมี่ผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภณั ฑ์เสริมอาหารบำรุงสมองและความ
จำของผูบ้ ริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธงชัย สันติวงษ์. 2539. พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธนสรร ยิ่งยงสมสวัสดิ์. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภควัยทำงานใน
เขตกรุงเทพมหานคร. ว.วิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1(2): 11-24.
บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประภาพร ชุลีลัง สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์ และปัญญา หมั่นเก็บ. 2560. การปรับตัวของผู้ประกอบการในการผลิตอาหารพื้นเมืองจาก
อุตสาหกรรมในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อการค้า : กรณีศึกษา หมี่โคราชตราดอกจิก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา.
ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 11(1): 277–286.
ประสิทธิ์ ขวัญสันเทียะ. 2559. ให้สัมภาษณ์, 20 ธันวาคม 2559. ประภาพร ชุลีลัง ผู้สัมภาษณ์. ภูมิหลังและความเป็นมาของการผลิตหมี่
ดอกจิก. โรงงานทำเส้นหมี่พ่อจอย ตราดอกจิก 48 หมู่ 2 บ้านสะแกแสง ตำบลพะงาด อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา.
พรชนก กฤษณรุ่งเรือง. 2549. ปัจจัยทีมี่ผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน้ำผลไม้ผสม แอล-คาร์นิทีนตรายูนิฟไอเฟิร์มของผู้บริโภคใน
เขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพรัชต์ ดิฐคณารักษ์กุล ภราดร หนูทอง และปรีชา ขันติโกมล. 2556. การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งชั้นบางสำหรับอบแห้งเส้นหมี่
โคราชโดยใช้อินฟราเรดและลมร้อน. นครราชสีมา : คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลอีสาน.
ภากร ธัมพิพิธ สราญจิตต์ ฉายทองคำ และ วรวิทย์ บุญช่วย. 2537. พฤติกรรมการใช้อาหารเสริมสุขภาพ. ปริญญานิพนธ์เภสัชศาสตร
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วไลพร ประถมพงษ์. 2559. หมี่โคราช.[Online] เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/ 309482. [10 ม.ค.2559].
วัฒนา นีสันเทียะ. 2555. โครงการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์การทำเส้นหมี่โคราชดั้งเดิม. ศิลปนิพนธ์โปรแกรม
วิชาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศศิธร สุภาวรรณ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อความงาม (Beauty Drink) ของผู้บริโภคใน
เขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ ปณิศา มีจินดา จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. 2560. การบริหารการตลาดยุคใหม่
(Marketing Management) ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2560. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.
เสรี วงษ์มณฑา. 2542. กลยุทธ์การตลาด. การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็ก.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. 2543. กลยุทธ์การตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.