การประเมินปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของฟักทองพันธุ์ลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ที่เหมาะสมต่อการแปรรูป

Main Article Content

ภูวไนย ไชยชุมภู
วชิรญา อิ่มสบาย
วรลักษณ์ ประยูรมหิศร
ยงยุทธ พลับจะโปะ
อัญมณี อาวุชานนท์

บทคัดย่อ

ฟักทอง (Cucurbita moschata) มีสารอาหารและสารเบต้าแคโรทีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถนำมา
ผลิตเป็นผงฟักทองและเป็นส่วนประกอบในอาหารแช่แข็งได้ แต่ยังขาดงานวิจัยสายพันธุ์ฟักทองไทยที่ใช้ในการแปรรูป เมื่อทำการประเมินคุณภาพผลและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของฟักทองจำนวน 10 สายพันธุ์ ประกอบด้วยลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 จำนวน 7 สายพันธุ์ และพันธุ์ผสมเปิด 3 สายพันธุ์ พบว่ามีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสด ผงฟักทอง และฟักทองแช่แข็ง อยู่ในช่วง 0.231-1.101, 0.133-0.759 และ 0.097-0.925 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีฟักทอง 6 สายพันธุ์ ที่มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสดสูง อยู่ระหว่าง 0.779-1.101 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม โดยสายพันธุ์ KPS-104
มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสดสูงที่สุด คือ 1.101 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม และมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีน
ในเนื้อแช่แข็งสูงที่สุดและไม่เปลี่ยนแปลงหลังผ่านการแช่แข็งไปแล้ว 6 เดือน คือ 0.925 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม
จึงมีความเหมาะสมต่อการนำไปประกอบอาหารและแปรรูปฟักทองแช่แข็ง และสายพันธุ์ KAN1/007-14 มีปริมาณเบต้า-
แคโรทีนผลสด 0.791 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม และในผงฟักทองสูงไม่แตกต่างจากผลสด คือ 0.670 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสด 100 กรัม มีเปอร์เซ็นต์ผงแป้ง 22.47 เปอร์เซ็นต์เทียบจากน้ำหนักสด ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการแปรรูปผงฟักทอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สถานการณ์การปลูกฟักทอง รายจังหวัด ปี 2559. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://production.doae.go.th
(6 สิงหาคม 2561).
จำนอง โสมกุล, ธนากร ไชยศิลา, ธรธ อำพล, ปณาลี ภู่วรกุลชัย, วรลักษณ์ ประยูรมหิศร และอัญมณี อาวุชานนท์. 2561.
การประเมินคุณภาพผลและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง 29 accessions. แก่นเกษตร 46 (1) (พิเศษ):
1424-1430.
ปณาลี ภู่วรกุลชัย. 2558. การศึกษาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนและการประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทองด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ
ชนิด AFLP. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิ่น โลหะวิทยากุล, วชิรญา อิ่มสบาย, ปวีณา ชื่นวาริน, ปิยณัฐ์ ผกามาศ และอัญมณี อาวุชานนท์. 2560. การศึกษาวิธีการวัดปริมาณเบต้าแคโรทีนที่เหมาะสมเพื่อการคัดเลือกพันธุ์ฟักทอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4(1): 8-13.
สุธีร์ สาตร์พันธุ์. 2553. การพัฒนาฟักทองผงเพื่อใช้ในการผลิตโดนัทเค้ก. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุทิศ สุภาพ. 2555. การใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในการหาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Alcides Oliveira, R.G., Carvalho, M.J.L., Marília Nutti, R., Carvalho, L.V.J., and W. G. Fukuda. 2010. Assessment and degradation study of total carotenoid and β-carotene in bitter yellow cassava (Manihot esculenta Crantz) varieties. African Journal of Food Science 4(4): 148-155.
Dutta, D., Raychaudhuri, U., and R. Chakraborty. 2005. Retention of β -carotene in frozen carrots under varying conditions of temperature and time of storage. African Journal of Biotechnology 4(1): 102-103.
Howard, L.A., Wong, A.D., Perry, A.K., and B.P. Klein. 1999. β-carotene and ascorbic acid retention in fresh and processed vegetables. Journal of Food Science 64(5): 929-936.
Krinsky, N.I. 1994. The biological properties of carotenoids. Pure and Applied Chemistry 66(5): 1003-1010.
Lee, C.H., Cho, J.K., Lee, S.J., Koh, W., Park, W., and Kim, C.H. 2002. Enhancing β-carotene content in Asian noodles by adding pumpkin powder. American Association of Cereal Chemists 79 (4): 593-595.
Nagata, M., and I. Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit.
J. Japan Soc. Food Sci. Technol 39: 925-928.
Pénicaud, C., Achir, N., Dhuique-Mayer, C., Dornier, M., and P. Bohuon. 2011. Degradation of β-carotene during fruit and vegetable processing or storage: reaction mechanisms and kinetic aspects: a review. Fruits 66: 417-440.
Pongjanta, J., Naulbunrang, A., Kawngdang, S., Manon, T., and T. Thepjaikat. 2006. Utilization of pumpkin powder in bakery products. Songklanakarin Journal of Science and Technology 28: 71-79.
Rakcejeva, T., Galoburda, R., Cude, L., and E. Strautniece. 2011. Use of dried pumpkins in wheat bread production.
Procedia Food Science 1: 441-447.
Seo, J.S., Burri, B.J., Quan, Z. and T.R. Neidlinger. 2005. Extraction and chromatography of carotenoids from pumpkin. Journal of Chromatography A 1073: 371-375.
Yan, W.Q., Zhang, M., Huang, L.L., Tang, J., Mujumdar, A.S. and J.C. Sun. 2010. Studies on different combined microwave drying of carrot pieces. Food Science and Technology 45: 2141-2145.