ผลของระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพและผลผลิตของพริกระยะผลอ่อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันความนิยมรับประทานอาหารรสเผ็ดมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังคงต้องการกลิ่นและรสชาติของพริกอยู่ งานวิจัยนี้จึงศึกษาลักษณะทางคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการ (วิตามินซีและคลอโรฟิลล์) ความเผ็ด ผลผลิต และคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยการชิม เพื่อหาระยะเก็บเกี่ยวพริกระยะผลอ่อนที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยทำการทดลองในพริก
7 สายพันธุ์ คือ CA-1119, CA-319, CA-2344, CA-944-a, CA-165, CA-2419 และ CA-403 เก็บเกี่ยวพริกระยะผลอ่อนที่อายุ
7, 9, 12, 15 และ 60 (ระยะผลสุกแดง) วันหลังดอกบาน (DAA) ผลการทดลองพบว่า พริกระยะผลอ่อนทุกพันธุ์ให้น้ำหนักสด ความกว้างผล ความยาวผล และความหนาเนื้อเพิ่มขึ้นตามระยะการพัฒนาผลที่เพิ่มขึ้น สูงสุดที่ระยะ 60 DAA ยกเว้นในพันธุ์ CA-2419 ที่ตั้งแต่ 12 DAA ให้ความกว้างผล ความยาวผล และความหนาเนื้อไม่แตกต่างจากระยะ 60 DAA ปริมาณวิตามินซีเพิ่มขึ้นตามอายุของผลพริกที่เพิ่มขึ้นและมีค่าสูงสุดที่อายุ 60 DAA โดยพริกทั้ง 7 สายพันธุ์มีปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำที่สุดที่อายุ 60 DAA พริกทุกสายพันธุ์เริ่มสะสมสารแคปไซซินนอยด์ (capsaicin และ dihydrocapsaicin) เมื่ออายุ 12 DAA ยกเว้น
พันธุ์ CA-2419 ที่พบสารแคปไซซินนอยด์ตั้งแต่อายุ 7 DAA ปริมาณแคปไซซินนอยด์จะเพิ่มขึ้นตามอายุของผลพริกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ระยะ 60 DAA มีค่าสูงสุด จากการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่าในพริกทุกพันธุ์จะมีความเหม็นเขียวลดลง ส่วนความกรอบและความชอบโดยรวมจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการพัฒนาผลที่เพิ่มขึ้น ความเผ็ดที่ระยะผลสุกมีค่าสูงสุด ผลผลิต/ไร่เพิ่มขึ้นตามระยะพัฒนาผลที่เพิ่มขึ้นและสูงสุดที่ระยะ 60 DAA ยกเว้นในพันธุ์ CA-2419 ที่ระยะ 15 DAA
ให้ผลผลิต/ไร่ไม่แตกต่างกับระยะ 60 DAA จากการทดลองสรุปได้ว่า ระยะเก็บเกี่ยวพริกระยะผลอ่อนที่เหมาะสมคือ 15 DAA เนื่องจากมีวิตามินซีรองลงมาจากระยะ 60 DAA แต่มีความเผ็ดที่น้อยกว่าและมีคะแนนความชอบสูง
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ชุลีพร ไผ่ดำ. 2554. การพัฒนาสีผลและการสุกแก่ของผลหลังการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์บุตรสี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปพนวีณ์ สุทธิประสิทธิ์. มปป. การควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพอาหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ. 2558. วิจัยและการพัฒนาพริก. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.
วีระ ภาคอุทัย และเยาวรัตน์ ศรีวรานนท์. 2557. พริก ปลูกอย่างไรในภาวะโลกกำลังร้อน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมภพ จีบเกาะ, สังคม เตชะวงค์เสถียร และสุชิลา เตชะวงค์เสถียร. 2551. ระยะการพัฒนาของผล และปริมาณสารเผ็ดของพริก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39: 265-268.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2548. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/สุขภาพ/พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรปี 2548 (21 ธันวาคม 2560).
___________________. 2552. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/สุขภาพ/พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรปี 2552 (21 ธันวาคม 2560).
___________________. 2556. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/สุขภาพ/พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรปี 2556 (21 ธันวาคม 2560).
___________________. 2560. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/สุขภาพ/พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรปี 2560 (21 ธันวาคม 2560).
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official methods of analysis of Association of Official Analytical Chemists. 17th ed. Gaithersburg: Association of Official Analytical Chemists International.
Aza-Gonzalez, C., Nunez-Palenius, H.G., and N. Ochoa-Alejo. 2011. Molecular biology of capsaicinoid biosynthesis in chili pepper (Capsicum spp.). Plant Cell Report. 30: 69-706.
Govindarajan, V.S., Rajalakshmi, D., and N. Chand. 1987. Capsicum production, technology, chemistry and quality. Part IV. Evaluation of quality. Critical Review in Food Science and Nutrition. 25:185-283.
Grubben, G. J.H. 1977. Tropical vegetables and their genetic resources. Rome: International Board for Plant Genetic Resources.
Kader, A.A. 1988. Influence of preharvest and postharvest environment on nutritional composition of fruits and vegetables. HortScience 24: 18-32.
Kumar, A.O., and T. Subba. 2009. Ascobic acid contents in chili peppers (Capsicum L.). Science and Biological. 47: 50-52.
Lwai, K., Suzuki, T., and H. Fujiwake. 1979. Formation and accumulation of pungent principle of hot pepper fruits, capsaicin and its analogues, in Capsicum annuum var. annuum cv.Karayatsubusa at different growth stages after flowering.
Agricultural and Biological Chemistry 43: 2493-2498.
Mackinney, G. 1941. Absorption of light by chlorophyll solutions. J Biol Chem 140: 315-322.
Msogoya, T.J., Majubwa, R.O., and A.P. Maerere. 2014. Effect of harvesting stages on yield and nutritional quality of African eggplant (Solanum aethiopicum L.) fruits. Journal of Applied Biosciences. 78: 6590-6599.
Opara, U.L., M.R. Al-Ani and N.M. Al-Rahbi. 2012. Effect of fruit ripening stage on physico-chemical properties, nutritional composition and anthoxidant components of tomato (Lycopersicum esculentum) cultivars.
Food Bioprocess Technology 5: 3236-3243.
Scoville, W.L. 1912. Note on Capsicum. J. Am. Pharm. Assoc. 1: 453.
Smith, P.G., Villalon, B., and P. Villar. 1987. Horticultural classification of peppers grown in the United states.
HortScience 22: 11-13.
Stevens, M.A. 1974. Varietal influence on nutritional value. In Nutritional Qualities of Fresh Fruits and Vegetables. P.L. White and N. Selvey, eds. pp. 87-110. New York: Futura publishing.
Todd, P., Bensinger, M., and T. Biftu. 1977. Determination of pungency due to capsicum by gas-liquid chromatography.
Journal of Food Science 42: 660-665.
Weston, L.A., and M.M. Barth. 1997. Preharvest factors affecting postharvest quality of vegetables. HortScience 32: 812-816.
Zewdie, Y., and P.W. Bosland. 2000. Evaluation of genotype, environment, and genotype by environment interaction for capsaicinoids in Capsicum annuum L. Euphitica 111: 185-190.