การประเมินความสามารถในการทนเค็มของเชื้อพันธุกรรมมะเขือม่วงในสภาพโรงเรือน

Main Article Content

ธนพงศ์ เง่าพิทักษ์กุล
จำนอง โสมกุล
ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ
รัชชานนท์ ทองแผ่น
วิทยา สารคุณ
อัญมณี อาวุชานนท์

บทคัดย่อ

ทำการประเมินเชื้อพันธุกรรมมะเขือม่วง จำนวน 20 สายพันธุ์ ที่รวบรวมโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพันธุ์การค้าจำนวน 4 สายพันธุ์ ในสภาพโรงเรือน ในช่วงระดับความเค็มที่แตกต่างกัน คือ
2 dS·m-1 (ไม่ผสมเกลือ) 4 dS·m-1 และ 6 dS·m-1 พบว่า มะเขือทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในทุกระดับความเค็ม ซึ่งสามารถคัดเลือกมะเขือที่ให้ผลผลิตได้ทุกระดับความเข้มข้นเกลือ ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ได้แก่ KM, KK, SM-267, SM-298, SM-065,
SM-244 และ SM-131 และมะเขือที่ให้ผลผลิตได้ที่ความเค็มระดับ 4 dS·m-1 จำนวน 5 สายพันธุ์ คือ SM-172, SM-570,
SM-371, SM-603 และ SM-232 การประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะเขือที่นำมาศึกษา พบว่า สีของดอกนั้นมี 2 สี
คือ สีขาวและสีม่วง รูปทรงผลมี 5 แบบ คือ ผลกลมแบน ผลยาว ผลกลม ผลเรียว และผลรูปไข่ การศึกษาครั้งนี้สามารถคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมมะเขือมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ทนเค็มเพื่อปลูกในพื้นที่ดินเค็มต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ข้อมูลการส่งผักสดไปต่างประเทศ. กรมส่งเสริมการเกษตร.
http://www.doa.go.th/ard/ FileUpload/export/5.4.2/Vegetable59.pdf (ตุลาคม 2561).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. มะเขือม่วง. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/ veget/67.pdf
(ตุลาคม 2561).
พิชัย วิชัยดิษฐ์. 2540. การอ่านและการใช้แผนที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่องดินเค็ม กลุ่มปรับปรุงดินเค็ม กองอนุรักษ์ดินและนํ้า กรมพัฒนาที่ดิน. น. 174 -176. กรุงเทพ: กรมพัฒนาที่ดิน.
สมศรี อรุณินฑ์. 2540. ดินเค็มในประเทศไทย. น. 251. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.
อัญมณี อาวุชานนท์, ปัญจรัตน์ แซ่ต้น, ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ และธรช อำพล. 2561. การประเมินศักยภาพในการทนเค็มของมะเขือพันธุ์การค้า 11 พันธุ์ในสภาพโรงเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 1 (1) : 57-68.
อนุชิต ดำสุข, จำนอง โสมกุล, ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ, วรลักษณ์ ประยูรมหิศร และอัญมณี อาวุชานนท์. 2561. การประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อพันธุกรรมมะเขือเพื่อคัดเลือกลักษณะทนร้อน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 36 (พิเศษ): 76-82.
Flower, T.J., Troke, P.E., and A.R. Yeo. 1977. The mechanism of salt tolerance in halophytes. Annu. Rev. Plant Physiol. 28: 89-121.
Hayward, H.E., and E.M. Long. 1941. Anatomical and physiological response of the tomato to varying concentrations of sodium chloride, sodium sulphate and nutrient solution. Botan. Gaz. 102: 437-462.