การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำอนูเบียสคอนเจนซิสโดยใช้ Thidiazuron (TDZ)

Main Article Content

ชานนท์ กล่อมกำแหง
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
บุปผา จงพัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Thidiazuron (TDZ) ต่อการชักนำให้เกิดยอดและการพัฒนาของชิ้นเนื้อเยื่อตายอดของพรรณไม้น้ำอนูเบียสคอนเจนซิส (Anubias congensis) โดยใช้ความเข้มข้นของ TDZ 5 ระดับ ได้แก่ 0, 2, 4, 6
และ 8 mg/L เติมลงไปในอาหารกึ่งแข็งสูตร MS (Murashige and Skoog,1962) เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าอาหารที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2 mg/L ชักนำให้เกิดยอดและใบมากที่สุด (P<0.05) ซึ่งจำนวนยอดเฉลี่ย (5.40 ยอด/ชิ้นเนื้อเยื่อ) และ
จำนวนใบเฉลี่ย (7.30 ใบ/ชิ้นเนื้อเยื่อ) และในอาหารที่เติม TDZ มีการเกิดรากน้อยกว่าชุดการทดลองที่ไม่เติม TDZ (P<0.05) ส่วนความยาวยอดไม่มีความแตกต่างระหว่างชุดการทดลอง (P>0.05) อาหารที่เติม TDZ ทุกความเข้มข้นชักนำให้เกิดยอดอ่อนขนาดเล็กจำนวนมาก (multiple shoots) 100 เปอร์เซ็นต์ อาหารที่เติม TDZ 4, 6 และ 8 mg/L มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ multiple shoots มากกว่าอาหารที่เติม TDZ 0 และ 2 mg/L (P<0.05) น้ำหนัก multiple shoots ของชิ้นเนื้อเยื่อที่เลี้ยงในอาหารที่เติม TDZ 2, 4 และ 8 mg/L มีน้ำหนักมากที่สุด (P<0.05) การใช้ TDZ ความเข้มข้นที่ 2 mg/L เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในการ
ชักนำให้เกิดจำนวนยอดมากที่สุดสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นอนูเบียสคอนเจนซิส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร. 2559. ข้อมูลการส่งออกต้นไม้น้ำ (รายชนิด) ไปต่างประเทศ ปี 2555-2558 (เฉพาะที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. น. 124. กรุงเทพฯ: รั้วเขียว.
ปิยะวดี เจริญวัฒนะ, รุ่งโรจน์ วัฒนะจิตเสรี และพีรวัส ภู่นภาประเสริฐ. 2559. ผลของ BA และ TDZ ต่อการพัฒนายอดอโกลนีมาพันธุ์ช้างแดงและพันธุ์อัญมณีในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3: 63-69.
พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. น. 196. กรุงเทพฯ: ไดนามิคการพิมพ์.
พัชนันท์ เย็นใส และพจมาลย์ สุรนิลพงศ์. 2557. ผลของ benzyladenine และ thidiazuron ต่อการชักนำยอดรวมของกล้วยช้างในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารแก่นเกษตร 42: 157-161.
รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หลักการและเทคนิค. น. 219. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Dewir, Y.H., Chakrabarty, D. Hahn, E.J., and K.Y. Paek. 2006. A simple method for mass propagation of Spathiphyllum cannifolium using an airlift bioreactor. In Vitro Cellular & Developmental Biology Plant 42: 291-297.
El-Mahrouk, M.E., Dewir, Y.H., and Y. Naidoo. 2016. Micropropagation and genetic fidelity of the regenerants of Aglaonema ‘Valentine’ using randomly amplified polymorphic DNA. HortScience 51: 398-402.
Fosket, D.E. 1994. Plant Growth and Development. pp. 580. New York: Academic Press.
Han, B.H., and B.M. Park. 2008. In vitro micropropagation of Philodendron cannifolium. Plant Biotechnology Reports 35: 203-208.
Huetteman, C.A., and J. E. Preece. 1993. Thidiazuron a potent cytokinin for woody plant tissue culture. Plant Cell Tissue Organ Culture 33: 105-119.
Hiscock, P. 2003. Encyclopedia of Aquarium Plants. pp. 205. New York: Barron’s Educational Series.
Jo, E.A., Murthy, H.N., Hahn, E.J., and K.Y. Paek. 2008. Micropropagation of Alocasia amazonica using semisolid and liquid cultures. In Vitro Cellular & Developmental Biology Plant 44: 26-38.
Lin, H.S., De-Jeu, M.J., and E. Jaeobson. 1997. Direct shoot regeneration from excised leaf explant of in vitro grown seeding of Alstroemeria L. Plant Cell Reports 16: 770-774.
Murashige, T., and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bio-assays with tobacco tissue cultures.
Physiology PIant 15: 473-497.
Mok, M.CMok., D.W.S., Armstrong, D.J., Shudo, K., Isogai, Y., and T. Okamoto. 1982. Cytokinin activity of N-phenyl-N’-1,2,3-thidiazol-5-ylurea (TDZ). Phytochemistry 21: 1509-1511.
Murthy, B.N.S., Murch, S.J., and P.K. Saxena. 1998. Review thidiazuron a potent regulator of in vitro plant morphogenesis.
In Vitro Cellular & Developmental Biology Plant 34: 267-275.
Mariani, T.S., Fitriani, A., Silva, J.A.T., Wicaksono, A., and T.F. Chia. 2011. Micropropagation of Aglaonema using axillary shoot explants. International Journal of Basic & Applied Sciences 11: 27-30.
Pierik, R. L. M. and H. H. M. Steegmans. 1972. The effect of 6-benzylaminopurine on growth and development of cattleya seedlings grown from unripe seed. Zeitschrift fur Pflanzenphysiologie 68: 228-234.
Pierik, R. L. M. 1989. In Vitro Culture of Higher Plants. pp. 344. Netherland: Martinus Nijhoff Publishers.
Sutter, E. G. 1996. General laboratory requirements medium and sterilization methods, pp. 11-25. In Plant Tissue Culture Concepts and Laboratory Exercises. R. N. Trigiano and D. J. Gray, ed. pp. 472. Florida: CRC Press.
Yulianna, G.Z., Tatyana, V.P., and I.N. Tatyana. 2016. Effects of thidiazuron on in vitro morphogenic response of
Rhododendron sichotense Pojark. and Rhododendron catawbiense cv. Grandiflorum leaf explants. In Vitro Cellular & Developmental Biology Plant 52: 56-63.