ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผักสดที่ร้านค้าในองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

Main Article Content

ธีร์ธนัตถ์ ภาสภิรมย์
พัฒนา สุขประเสริฐ
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและความคิดเห็นของผู้บริโภค 2. การรับรู้และการค้นหาข้อมูลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคในด้านส่วนประสมการตลาด และ 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภค การวิจัยเชิงสำรวจนี้ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อผักสด จำนวน 171 คน ที่ร้านค้าใน อ.ต.ก. ได้แก่ โครงการศิลปาชีพ โครงการหลวง และตลาดสดในพื้นที่ อ.ต.ก. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริโภคที่ซื้อผักสดที่ร้านค้าใน อ.ต.ก. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.8) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 62.6) จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน (ร้อยละ 50.9) ช่วงอายุ 55-77 ปี (ร้อยละ 36.3) ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 83.6) ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 33.3) มีรายได้ 45,001-100,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 36.8)
ใช้ระยะเวลาเดินทางมา อ.ต.ก. 16-30 นาที (ร้อยละ 40.2) มีการรับข้อมูลข่าวสารด้านผักสด (ร้อยละ 69.0) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผักสดอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 50.8) มีความคิดเห็นด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 81.8) 2. การรับรู้ข้อมูลด้านส่วนประสมการตลาดก่อนการตัดสินใจซื้อผักสดที่ร้านค้าใน อ.ต.ก. พบว่ามีการรับรู้ในทุกด้านแต่มีการค้นหาข้อมูลเฉพาะในด้านสถานที่ และ 3. ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อผักสด พบว่า รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อในทุกด้าน รองลงมาคือ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผักสด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2553. กว่าจะเป็นตลาดสดน่าซื้อ. กรุงเทพฯ: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข.
ปาณบดี เอกะจัมปกะ และนิธิศ วัฒนมะโน. 2552. รายงานสถานการณ์สุขภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข.
วนาลักษณ์ ธำรงดิลกตระกูล. 2547. พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟคั่วบดในเขตพญาไท. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุดาพร กุณฑลบุตร. 2552. หลักการตลาด (สมัยใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรินทร์ นิยมางกูล. 2553. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง.
กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
สุรินทร์ นิยมางกูล. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ ทู ยู.
สุวิมล ติรกานันท์. 2557. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร. 2553. รายงานประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. 2545. กลยุทธ์การตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kotler, P. 2003. Marketing management. Eleventh ed. N.P. United States: Prentice Hall.