การขยายพันธุ์เอื้องแซะในหลอดทดลอง

Main Article Content

กุหลาบทอง บัวสะหวัน
วุฒิพงษ์ ทองใบ
รักชนก โคโต

บทคัดย่อ

    Dendrobium scabrilingue Lindl. หรือเอื้องแซะ เป็นกล้วยไม้ป่าที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือของไทยแต่ในปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์เอื้องแซะในหลอดทดลอง โดยเพาะ-เมล็ดบนอาหารแข็งสูตร Vacin และ Went (VW) เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดพัฒนาเป็นโปรโตคอร์มได้ ส่วนการชักนำให้เป็นโปรโตคอร์มไลค์บอดี้โดยนำโปรโตคอร์มมาเลี้ยงในอาหารเหลว VW ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต 6-benzyladenine (BA) ที่ความเข้มข้น 1, 2 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าอาหารเหลว VW ที่เติม BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ชักนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้ได้ 12.4 โปรโตคอร์มต่อชิ้นส่วน จากนั้นนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้มาเลี้ยงในอาหารเหลวที่เติมน้ำตาลความเข้มข้นต่างกันคือ 1, 2 และ 3 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดเป็นต้นอ่อนอย่างรวดเร็ว พบว่าในอาหารสูตร VW ที่เติมน้ำตาล 1 เปอร์เซ็นต์ ชักนำให้เกิดต้นอ่อนดีที่สุดคิดเป็น 1.68 ยอดต่อชิ้นส่วน มีความยาวยอดเฉลี่ย 1.18 เซนติเมตร และจำนวนใบเฉลี่ย 1.85 ใบต่อชิ้นส่วน และเพื่อชักนำให้เกิดเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้นำมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร VW ที่เติมสารอินทรีย์ ได้แก่ น้ำมะพร้าว น้ำมะเขือเทศ มันฝรั่งบด กล้วยหอมบด และผสมรวมกัน เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าอาหารสูตร VW ที่เติมมันฝรั่งบดชักนำให้เกิดเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ดีที่สุด มีจำนวนยอดเฉลี่ย 11.36 ยอดต่อชิ้นส่วนและความยาวยอด 0.81 เซนติเมตร จากนั้นจึงนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร VW ที่เติมมันฝรั่งบด และผงถ่านกัมมันต์อีก 17 สัปดาห์เพื่อชักนำให้เป็นต้นที่สมบูรณ์ และเมื่อย้ายต้นกล้าออกปลูกในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าวัสดุปลูกที่สแฟกนัมมอสทำให้ต้นอ่อนมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุดคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตราพรรณ พิลึก. 2539. เอื้องแซะหลวง. นิตยสารไม้ดอก 1(6): 74-77.

ณัชชา วิสุทธิเทพกุล. 2548. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์. ใน รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และสัตว์ป่า. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. น. 368-374. โรงแรมรีเจ้นท์, เพชรบุรี.

ธนวดี พรหมจันทร์, สุภาวดี รามสูตร และปรีดา บุญเวศน์. 2559. ผลของผงถ่านและวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดชีวิตของต้นกล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 35(2): 53-61.

ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย และพิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์. 2550. ผลของน้ำตาลซูโครสต่อการเจริญเติบโตและการสร้างหัวในสภาพหลอดแก้วของกล้วยไม้ดินนางอั้วสาคริก. วารสารเกษตร 23(3): 197-205.

นาตยา มนตรี และนิเวศ แซ่ซ้ง. 2557. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ช้างผสมโขลงในสภาพปลอดเชื้อ. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 1): 159-601.

บัวสอน โบราสี และอารยา อาจเจริญ เทียนหอม. 2557. การงอกของเมล็ดและการพัฒนาต้นอ่อนเอื้องเขาแกะในสภาพปลอดเชื้อ.

แก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ 3): 524-528.

ประเทืองศรี สินชัยศรี, ธวัชชัย ศศิผลิน, ชูเกียรติ เทพสาร และนงเยาว์ ทองตัน. 2538. การวิจัยและพัฒนาสกัดกลิ่นหอมจากดอกกล้วยไม้ป่า

เอื้องแซะ. วารสารวิชาการเกษตร 13(2): 136-141.

ประพันธ์ โอสถาพันธุ์, ลักขณา เพ็ชรประดับ, นันทฤทธิ์ โชคถาวร, เบญจวรรณ สมบูรณ์, ชิต อินปรา และสมยศ มีสุข. 2554. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การผลิตเอื้องแซะหอมเชิงพาณิชย์เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องหอม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ภาวิณี ศิริสม. 2557. การปรับปรุงวิธีการชักนาให้เกิดโปรโตคอร์มและการพัฒนาเป็นต้นใหม่ของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย.

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภุมรินทร์ คงมณี. 2544. การศึกษาการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าเอื้องแซะหลวงในสภาพปลอดเชื้อ.

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มณเทียน แสนดะหมื่น, สุริยนต์ ดีดเหล็ก และสุทัด ปินตาเสน. 2555. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ.

ใน รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา 2551-2560. น. 1-11. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

ระพี สาคริก. 2546. การปลูกกล้วยไม้เป็นการค้าและการพัฒนาบนพื้นฐานความมั่นคง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วราภรณ์ ภูตะลุน. 2557. เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้ทางเภสัชศาสตร์. ขอนแก่น:

บริษัท ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา จำกัด.

วิวัฒน์ วุฒิพันธไชย. 2529. ผลของอายุฝัก การเติมมันฝรั่ง น้ำมะพร้าว และถ่านในอาหารสำหรับเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2552. กล้วยไม้ไทย. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.

อาทิตยา ชายคีรี และวราภรณ์ ฉุยฉาย. 2560. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของกะเรกะร่อนปากเป็ดในสภาพปลอดเชื้อและผลของปุ๋ย

ในการอนุบาลหลังออกปลูก. แก่นเกษตร 45 (ฉบับพิเศษ): 1197-1202.

อาภรณ์ อุดมศิลป์. 2556. พืชอนุรักษ์ในบัญชีไชเตส (CITES) กล้วยไม้ป่าในผืนป่าตะวันออก ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Arditti, J. 2008. Micropropagation of orchids. Australia: Blackwell Publishing.

Arditti, J., and Pridgeon, A. 2013. Orchid biology: reviews and perspectives, VII. Netherlands: Springer Science & Business Media.

Cardoso, J. C., Zanello, C. A., and Chen, J. T. 2020. An overview of orchid protocorm-like bodies: mass propagation, biotechnology, molecular aspects, and breeding. International Journal of Molecular Sciences 21(3): 985.

Hdider, C., and Desjardins, Y. 1994. Effects of sucrose on photosynthesis and phosphoenolpyruvate carboxylase activity of in vitro cultured strawberry plantlets. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 36(1): 27-33.

Huetteman, C. A., and Preece, J. E. 1993. Thidiazuron: a potent cytokinin for woody plant tissue culture. Plant Cell,

Tissue and Organ Culture 33: 105-119.

Kaur-Sawhney, R., Flores, H. E., and Galston, A. W. 1980. Polyamine-induced DNA synthesis and mitosis in oat leaf protoplasts.

Plant Physiology 65(2): 368-371.

Knudson, L. 1946. A new nutrient solution for the germination of orchid seed. American Orchid Society Bulletin 15: 214-217.

Kunakhonnuruk, B., Inthima, P., and Kongbangkerd, A. 2018. In vitro propagation of Epipactis flava Seidenf., an endangered rheophytic orchid: a first study on factors affecting asymbiotic seed germination, seedling development and greenhouse acclimatization. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 135(3): 419-432.

Pan, M. J., and Van Staden, J. 1998. The use of charcoal in in vitro culture – A review. Plant Growth Regulation 26: 155-163.

Seidenfaden, G., and Smitinand, T. 1959. The orchid of Thailand: A preliminary list. Bangkok: The Siam Society.

Sagaya, M. B., and Divakar, K. M. 2015. In vitro micropropagation of Dendrobium crepidatum lindl. using fruit capsule.

International Journal of Engineering Development and Research 3(4): 212-216.

Vacin, E., and Went, F. W. 1949. Some pH changes in nutrient solutions. Botanical Gazette 110: 605-613.

Zhao, P., Wu, F., and Feng, F. 2008. Protocorm-like body (PLB) formation and plant regeneration from the callus culture of Dendrobium candidum Wall ex Lindl.. In Vitro Cellular and Developmental Biology - Plant 44: 178-185.