อัตราส่วนที่เหมาะสมของชาใบหม่อนและสับปะรดต่อคุณภาพของน้ำชาใบหม่อนผสมน้ำสับปะรด

Main Article Content

วัฒนา วิริวุฒิกร

บทคัดย่อ

     จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของชาใบหม่อนและสับปะรดต่อกระบวนผลิตน้ำชาใบหม่อนผสมน้ำสับปะรด การศึกษาครั้งนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 สิ่งทดลอง คือ น้ำชาใบหม่อน (ตัวอย่างควบคุม) น้ำชาใบหม่อนผสมน้ำสับปะรดอัตราส่วน 70:30, 60:40 และ 50:50 ตามลำดับ ศึกษาสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะปรากฏ สี และกลิ่น ศึกษาสมบัติทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ร้อยละกรดทั้งหมด ของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด และวิตามินซี ศึกษาสมบัติทางจุลชีววิทยาด้านจุลินทรีย์ทั้งหมด โคลิฟอร์ม S. aureus รวมถึงยีสต์และรา ศึกษาการยอมรับประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม โดยใช้ผู้ทดสอบชิมที่ไม่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 30 คน แบบ 9-point hedonic scale ผลการวิเคราะห์ทางกายภาพพบว่า ปริมาณน้ำสับปะรดที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ลักษณะปรากฏ สี และกลิ่นเพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า ทุกค่ามีความแตกต่างทางสถิติ (p ≤ 0.05) ยกเว้นของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด สิ่งทดลองที่ 4 มีค่าวิตามินซีสูงสุดเท่ากับ 0.41 มก./มล. ผลการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาพบว่า จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด โคลิฟอร์ม S. aureus และยีสต์ และราเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า เมื่อพิจารณาสมบัติด้านกลิ่น รสชาติ และการยอมรับโดยรวมของสิ่งทดลองที่ 4 ได้รับคะแนนการยอมรับมีค่าสูงสุดคือ 7.50, 7.70 และ 7.60 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดารัฐ วีระวุฒิ. 2541. สับปะรดและสรีรวิทยาการเจริญเติบโตของสับปะรด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จารุพันธ์ ทองแถม. 2526. สับปะรดและอุตสาหกรรมสับปะรดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนกิจ ถาหมี และพิไลรัก อินธิปัญญา. 2555. การพัฒนาสูตรเครื่องดื่มน้ำหม่อน (Murus alba L.) สกัดผสมน้ำผึ้ง. วารสารวิชาการเกษตร 30(3):

-289.

ธนกิจ ถาหมี และพิไลรัก อินธิปัญญา. 2559. การพัฒนาสูตรชาชงใบหม่อนผสมผลหม่อนโดยใช้การทดลองออกแบบส่วนผสม. วารสารเกษตร

(2): 235-245.

ธิดาวรรณ จงเกรียงไกร. 2557. พฤติกรรมการบริโภคชาผลไม้โอชายะของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภาศรี เจริญสุข. 2548. การศึกษาการยอมรับน้ำมะขามผสมชาเขียวใบหม่อน. วิทยาศาสตรบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต

ปทุมธานี.

ปราณี อ่านเปรื่อง. 2541. ทฤษฎีการผลิตน้ำผลไม้บรรจุขวดพร้อมดื่มและความรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนฯ. วารสารอาหาร 28(3): 157-167.

ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล, นิรมล สันติภาพวิวัฒนา และยูถิกา สร้อยระย้า. 2547. คุณภาพของน้ำสับปะรดปรุงรสเข้มข้นแช่แข็ง. ใน รายงานวิจัย.

สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ไพโรจน์ วิริยจารี. 2545. การทดสอบความชอบหรือการยอมรับรวมของผู้บริโภคการประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). เชียงใหม่:

ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันดี แสงสุวรรณ. 2549. กระบวนศึกษาการผลิตชาใบหม่อนผงสำเร็จรูป. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

วิโรจน์ แก้วเรือง. 2543. ชาหม่อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สวามินี นวลแขกุล. 2547. การพัฒนาเครื่องดื่มข้าวโพดเส้นใยอาหารจากกากที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. 2556. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนชาใบหม่อน มผช 30/2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

อนงค์ ศรีโสภา และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. 2563. การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์

ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(2): 218-229.

Akusu, O.M., Kiin-Kabari, D.B., and Ebere, C.O. 2016. Quality characteristics of orange/pineapple fruit juice blends. American

Journal of Food Science and Technology 4(2): 43-47.

AOAC. 2000. Official methods of analysis, 17th ed. USA: The Association of Official Analytical Chemists (AOAC).

Banchobphutsa, Y. 2012. The efficacy of Mous alba leaf tea in patients with dyslipidemia. In Annual Research Conference in

Dermatology and Aesthetic Dermatology 6th. pp. 206-225. Chiang Rai: Mae Fah Luang University.

Booranasuksakul, U., Rueangsri, N., Prasertsri, P., and Singhato, A. 2019. Effects of mulberry (Morus alba) leaf tea on blood glucose

and satiety in healthy subjects. Srinagarind Medical Journal 34: 237-242.

Deetae, P., Parichanon, P., Trakunleewatthana, P., Chanseetis, C., and Lertsiri, S. 2012. Antioxidant and anti-glycation properties of

Thai herbal teas in comparison with conventional teas. Food Chemistry 133: 953-959.

Larry, M., and James, T.P. 2001. Bacteriological Analytical Manual Chapter 3 Aerobic Plate Count. U.S. Food and Drug

Administration. Center for Food Safety and Applied Nutrition, USA.

http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm063346.htm (22 August 2019).

Park, E., Lee, S.M., Lee, J., and Kim, J.H. 2013. Anti-inflammatory activity of mulberry leaf extract through inhibition of NF-KB.

Journal of Functional Foods 5: 178-186.

Siti Rashima, R., Maizura, M., Wan Nur Hafzan, W.M., and Hazzeman, H. 2019. Physicochemical properties and sensory

acceptability of pineapples of different varieties and stages of maturity. Food Research 3(5): 491-500.

Valerie, T., Michael, E.S., Philip, B.M., Herbert, A.K., and Ruth, B. 2001. Bacteriological Analytical Manual Chapter 18 Yeasts, Molds

and Mycotoxins. U.S. Food and Drug Administration. Center for Food Safety and Applied Nutrition, USA.

http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071435.htm (15 August 2019).

Wen, P., Hu, T.G., Linhardt, R.J., Liao, S.T., Wu, H., and Zou, Y.X. 2019. Mulberry: A review of bioactive compounds and advanced

processing technology. Trends Food Science Technology 83: 138-158.