อิทธิพลของประเภทปุ๋ยที่มีผลต่อปริมาณสารฟีนอลิกรวมและอินนูลินในแก่นตะวัน

Main Article Content

ชยุต ศรีฮาก์ณู
วรรณวิภา พินธะ
ช่อแก้ว อนิลบล

บทคัดย่อ

แก่นตะวันเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประเภทปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและปริมาณอินนูลินในหัวแก่นตะวัน วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ 4) ใส่ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บข้อมูลความสูง วัดค่า SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) พื้นที่ใบต่อต้น น้ำหนักแห้งต้นและใบ จำนวนหัวต่อต้น น้ำหนักหัวต่อแปลงย่อย ปริมาณสาร                     ฟีนอลิกรวมและปริมาณอินนูลิน ผลการทดลองพบว่า ประเภทของปุ๋ยทำให้พื้นที่ใบและจำนวนหัวต่อต้นแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยเคมีทำให้พื้นที่ใบสูงที่สุด (p<0.01) ขณะที่ปุ๋ยคอกทำให้จำนวนหัวต่อต้นสูงที่สุด (p<0.01) ประเภทของปุ๋ยไม่มีผลต่อปริมาณสารฟีนอลิกรวมและอินนูลิน แต่มีแนวโน้มว่า การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดทำให้ปริมาณสารฟีนอลิกรวมและปริมาณอินนูลินสูงกว่าการใส่ปุ๋ยประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบสหสัมพันธ์ระหว่าง 1) ปริมาณฟีนอลิกรวมกับค่า SCMR (0.99**) และ 2) ปริมาณอินนูลินกับจำนวนหัวต่อต้น (0.98*) ของแก่นตะวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นราธร โค้ววิลัยแสง และช่อแก้ว อนิลบล. 2563. อิทธิพลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อองค์ประกอบผลผลิต และสารฟีนอลิกรวมในถั่วลิสง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28(2): 265-273.

สนั่น จอกลอย รัชนก มีแก้ว วิลาวรรณ ตุลา และถวัลย์ เกษมาลา. 2549. อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน. แก่นเกษตร 34(2): 171-182.

อัตถ์ อัจฉริยมนตรี. 2557. ศักยภาพการให้ผลผลิตและการเจริญเติบโตของแก่นตะวันในสภาพเกษตรอินทรีย์. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาพืช. น. 388-393. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

Amarowicz, R., Cwalina-Ambroziak, B., Janiak, M. A., and Bogucka, B. 2020. Effect of N fertilization on the content of phenolic compounds in Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus L.) tubers and their antioxidant capacity. Agronomy 1215(10): 1-12.

Boogar, A. R., Saedi, F., and Mosavi, S. M. 2018. Effect of organic manures on nutritional quality of chicory under water deficit. Advancement in Medicinal Plant Research 6(3): 46-53.

Chassy, A. W., Bui, L., Renaud, E. N. C., Horn, M. V., and Mitchell, A. E. 2006. Three-year comparison of the content of antioxidant microconstituents and several quality characteristics in organic and conventionally managed tomatoes and bell peppers. Journal of Agricultural and Food Chemistry 54: 8244-8252.

Chen, C. Y. O., and Blumberg, J. B. 2008. Phytochemical composition of nuts. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition 17: 329-332.

Cosgrove, D. R., Oelke, E. A., Doll, J. D., Daves, D. W., Undersander, D. J., and Splinger, S. E. 1991. Jerusalem artichoke. Purdue University. http://www.hort.purdue,edu/newcrop/afcm/jerisart.html. (24 April 2018).

Farnworth, E.R. 1993. Fructans in human and animal diets. In Science and Technology of Fructans, M. Suzuki and N.J. Chatterton, eds. pp. 257-272. London: CRC Press.

Pinmongkhonkul, S., Ganranoo, L., Timsom, Y., Jantapatak, Y., and Boonriam, W. 2021. Inulin evaluation of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus) from organic cultivation areas, Phayao, Thailand. International Journal of Agricultural Technology 17(2): 627-640.

Puttha, R., Jogloy, S., Wangsomnuk, P. P., Srijaranai, S., Kesmala, T., and Patanothai, A. 2012. Genotypic variability and genotype by environment interactions for inulin content of Jerusalem artichoke germplasm. Euphytica 183: 119-131.

Saengkanuk, A., Nuchadomrong, S., Jogloy, S., Patanothai, A. and Srijaranai S. 2011. A simplified spectrophotometric method for the determination of inulin in Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) tubers. European Food Research and Technology 233: 609-616.

Torres, A. M., Mau-Lastovicka, T., and Rezaaiyan, R. 1987. Total phenolics and high-performance liquid chromatography of phenolic acids of avocado. Journal of Agricultural and Food Chemistry 35: 921-925.

Wilson, B., and Whelan, K. 2017. Prebiotic inulin-type fructans and galacto-oligosaccharides: definition, specificity, function, and application in gastrointestinal disorders. Journal of Gastroenterology and Hepatology 32: 64-68.

Young, J. E., Zhao, X., Carey, E. E., Welti, R., Yang, S., and Wang, W. 2005. Phytochemical phenolics in organically grown Vegetables. Molecular Nutrition & Food Research 49: 1136-1142.