การศึกษาชนิดของพืชอาศัยและปริมาณเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา (เห็ดเผาะ) ที่เหมาะสม ในการส่งเสริมการเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซาของกล้าไม้วงศ์ยางภายใต้สภาวะเรือนปลูกพืช

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี

บทคัดย่อ

เห็ดป่าไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) เป็นราที่เจริญร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) กับรากพืชชั้นสูง การศึกษาชนิดของพืชอาศัยและปริมาณเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา (เห็ดเผาะ) ในการนำมาใช้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้าไม้วงศ์ยาง ได้แก่ ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don), เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) และรัง (Shorea siamensis Miq.) อายุ 3 เดือน โดยปลูกถ่ายเชื้อลงในต้นกล้า 1 และ 2 ครั้ง แต่ละครั้งระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน ปริมาณแตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20 และ 30 มิลลิลิตรต่อต้น เปรียบเทียบกับต้นชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ต้นเต็งที่มีการปลูกถ่ายเชื้อเห็ดเผาะ 2 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 20 มิลลิตร เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซาของกล้าไม้วงศ์ยางภายใต้สภาวะเรือนปลูกพืชมากที่สุด โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางระดับคอราก ความยาวราก จำนวนรากแขนง และปริมาณมวลชีวภาพส่วนเหนือดิน มีค่าเท่ากับ 15.83 เซนติเมตร, 1.72 มิลลิเมตร, 853 มิลลิเมตร, 990 ราก และ 7.36 กรัม ตามลำดับ รวมถึงมีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซามากที่สุดถึง  81.31 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการตรวจสอบการมีอยู่ของ DNA ที่มีความจำเพาะต่อเห็ดเผาะในรากพืชอาศัย ด้วยชุดไพรเมอร์ GAPK126F และ GAPK379R พบว่าเกิดแถบ DNA ขนาดประมาณ 250 คู่เบส เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้รับการใส่เชื้อ (ชุดควบคุม) จะไม่ปรากฏแถบ DNA ดังกล่าว ซึ่งแสดงถึงความสามารถของเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาในการเข้ากันได้กับรากพืชอาศัย เพื่อให้การเพาะเห็ดเผาะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม สร้อยทอง. 2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเช็ท.

ทนุวงศ์ แสงเทียน และอุทัยวรรณ แสงวณิช. 2537. การเจริญเติบโตของยางนาที่ได้รับการปลูกเชื้อเอ็คโตไมคอร์ไรซา. วารสารวนศาสตร์ 13: 22-28.

ธนิตา อาสว่าง, อุไรวรรณ วิจารณกุล, รุ้งเพชร แข็งแรง, ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย และเชิดชัย โพธิ์ศรี. 2558. เอคโตไมคอร์ไรซาของเห็ดเผาะสิรินธรในกล้าไม้ยางนา. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4. พิษณุโลก: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนภักษ์ อินยอด, ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ, ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์, ธนภัทร เติมอารมย์, ชาตรี กอนี, สุริมา ญาติโสม, สุจิตรา บัวลอย

และปิยะดา เอี่ยมประสงค์. 2564. การศึกษาอายุของต้นหว้าที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อเห็ดตับเต่าภายใต้สภาวะโรงปลูกพืช.

วารสารเกษตรนเรศวร 18(1): 1-13.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก และมนัส ทิตย์วรรณ. 2563. วัสดุผลิตหัวเชื้อเห็ดเผาะและผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอาศัย. วารสารแก่นเกษตร 48(1): 1173-1180.

สมศักดิ์ สุขวงศ์. 2542. วัฒนธรรมไทยกับไม้ในวงศ์ยาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร.

สํานักงานหอพรรณไม้. 2555. คู่มือเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อปลูกป่าป้องกันอุทกภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ. 2561. นิเวศวิทยาของเห็ดเผาะในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 20(3): 124-133.

อนิวรรตน์ เฉลิมพงษ์ และธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ. 2525. การสํารวจเอคโตไมคอร์ไรซาในระบบนิเวศวิทยาป่าดิบแล้ง. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. https://www.tistr.or.th/sakaerat/project/ASRCT%20pdf/3/006.pdf (15 สิงหาคม 2564).

Brundrett, MC. 2006. Understanding the roles of multifunctional mycorrhizal and endophytic fungi. Soil Biology Journal 38(9): 281-298.

Charoenpakdee, S., Phosri, C., Dell, B., and Lumyong, S. 2010. The mycorrhizal status of indigenous arbuscular mycorrhizal fungi of physic nut (Jatropha curcas) in Thailand. Mycosphere 1(2): 167-181.

Doyle, J. J., and Dickson, E. E. 1987. Preservation of plant samples for DNA restriction endonuclease analysis. Taxon 36: 715-722.

Hanmoungiai, W. 2014. Factors affecting on the growth of mycelium Hed-Pho (Astreaus hygrometricus Morgan) on agar medium and cereal grain medium. Naresuan University Journal Science and Technology 22(3): 1-9.

Harley, J. L., and Smith, S. E. 1983. Mycorrhizal symbiosis. In Scientific Research, J. Dighton, ed. pp 483. London: Academic Press.

Kaewgrajang, T., Sangwanit, U., Iwase, K., Kodama, M., and Yamato, M. 2013. Effects of ectomycorrhizal fungus Astraeus odoratus on Dipterocarpus alatus seedlings. Journal of Tropical Forest Science 25(2): 200-205.

Li-Hui, L., and Qiang-Sheng, W. 2017. Mycorrhizas promote plant growth, root morphology and chlorophyll production in white clover. Biotechnology 16(1): 34-39.

Lyal, C. H. C., and Curran, L. M. 2000. Seed-feeding beetles of the weevil tribe Mecysolobini (Insecta: Coleoptera: Curculionidae) developing in seeds of trees in the Dipterocarpaceae. Journal of Natural 34:1743-1847.

Noori, M., Mobasser, H. R., Rigi, K., Heidari, M., and Keykha, A. 2014. Effects of mycorrhiza and nitrogen fertilizer on quantitative traits of wheat. Journal of Novel Applied Sciences 3(3): 295-297.

Nopamornbodi, O. 1995. Effect of mycorrhizae on plant growth and soil fertility. In International Training Course on Soil Management Technique “Fertility Improvement”, ADRC, ed. Khonkaen: JICAS ADRC.

Nuangmek, W., Saenmuangma, R., and M. Titayavan. 2016. Ecology and distribution of earthstars in Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at University of Phayao. Khon Kaen agriculture journal 40(1): 960- 964.

Phillips, J. M., and Hayman, D. S. 1970. Improved procedures for clearing roots and staining parasitic and vesicular arbuscular mycorrhizal fungi for rapid assessment of infection. Transactions of the British Mycological Society 55: 158-161.

Sreedhar, S. S., and Mohan, V. 2016. Effects of arbuscular mycorrhizal (AM) fungi and plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) as bio-fertilizers on growth enhancement of economically important native tree species, Neolamarckia cadamba seedlings. KAVAKA 47: 125-133.

Suwannasai, N., Dokmai, P., Yamada, A., Watling, R., and Phosri, C. 2020. First ectomycorrhizal syntheses between Astraeus sirindhorniae and Dipterocarpus alatus (Dipterocarpaceae), pure culture characteristics, and moiecular detection. Biodiversitas 21(1): 231-238.

Tharnrat, K., Baramee, S., and Uthaiwan, S. 2019. Growth response of Dipterocarpus tuberculatus and Shorea roxburghii Seedlings to Astraeus odoratus. Environment and Natural Resources Journal 17(3): 80-88.