สถานการณ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเกษตรของสถานศึกษาในเขตชุมชนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การสื่อสารในการส่งเสริมการเกษตรในเมืองของสถานศึกษาในเขตชุมชนเมือง โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้แทนสถานศึกษาในเขตอำเภอเมือง จำนวน 400 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความสำคัญและตระหนักของสถานศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันและอนาคตเกือบทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก ยกเว้นในปัจจุบันที่การสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง 2) สถานการณ์การสื่อสารในการจัดการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเกษตรมีองค์ประกอบของการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ครูเป็นผู้ถ่ายทอด/ผู้สอน ข้อมูล ประเด็น หรือเนื้อหาจะเป็นความรู้ด้านการเกษตรตามแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการควบคู่กับความรู้ด้านการเกษตรที่เป็นกระแสสังคมโลกและประเทศ และความรู้ด้านการเกษตรพื้นฐานทั่วไป ซึ่งเน้นในประเด็นเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร และกลุ่มเป้าหมายสำคัญเป็นนักเรียน ยกเว้นสื่อในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนมีการใช้หนังสือเรียน แต่การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเป็นการใช้แปลงสาธิตมากที่สุด 3) ภาคีหรือผู้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือของครอบครัวของนักเรียนกับชุมชน และ 4) ความสำเร็จของสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
จงรัก วงศ์ไชย. 2555. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้งานเกษตรแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านผาตูบและชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จริยา เสตะจันทน์, ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์ และสมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช. 2560. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในวิชาการเกษตร กรณีศึกษาการปลูกผักในเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(1): 72-82.
ทิศนา แขมมณี. 2551. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์แห่งหนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรา เอี่ยมกิจการ, ลือพงษ์ ลือนาม, สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช, ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์, รพีพรรณ คันธะวิชัย และสดศรี นกอยู่. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการฝึกอบรมส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตอุปกรณ์การเกษตรโดยวัสดุเหลือใช้แก่เด็กและเยาวชนในเขตชุมชนเมือง. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พัสรินณ์ พันธุ์แน่น. 2561. การพัฒนาสวนเกษตรชุมชนเมืองกับการเสริมสร้าง ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษา ชุมชนพูนทรัพย์ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 36(3): 68-95.
ศิระกาญจณ์ อะนันเอื้อ, จินดา ขลิบทอง และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2555. การส่งเสริมเกษตรในโรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตากเขต 2. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/ %E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/2nd/index.html. (30 ธันวาคม 2564).
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. 2564. Children & Nature-deficit Disorder เด็กกับโรคขาดธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยมหิดล. https://mahidol.ac.th/th/2021/children-nature-deficit-disorder/. (29 ธันวาคม 2564).
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2556. รายชื่อสถานศึกษา ปีการศึกษา 2556. กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.mis.moe.go.th/statistic. (12 พฤษภาคม 2558).
สุจิต เมืองสุข. 2562. ร.ร.อุทัยธานีวิทยาคม ปั้นเด็กเก่งเกษตรรับ 4.0. https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_96146. (29 ธันวาคม 2564).
อภิเดช ช่างชัย, สันติ ศรีสวนแตง และประสงค์ ตันพิชัย. 2560. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร 10(2): 1544-1560.
Yamane, T. 1967. Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row.