ความต้องการในการพัฒนาตนเองของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

Main Article Content

วรรณรีย์ คนขยัน
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ธานินทร์ คงศิลา

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) ความต้องการในการพัฒนาตนเองของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการในการพัฒนาตนเองของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ส่วนมาก เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.1 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 48.9 มีประสบการณ์ในการทำงานในกรมส่งเสริมการเกษตรระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 26.9 มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 53.3 โดยสำเร็จการศึกษาในสาขาเกษตรศาสตร์ ร้อยละ 62.2 ความต้องการในการพัฒนาตนเองของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้านการส่งเสริมการแปรรูปทางการเกษตร มีความต้องการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.11) และด้านการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน มีความต้องการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.91) การศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และสาขาวิชาที่จบการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านงานส่งเสริมการแปรรูปทางการเกษตร และด้านการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนปฏิบัติงานระยะ 5 ปี
(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. วิสัยทัศน์และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ:
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. แนวทางการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2551. การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง, โชตนา ลิ่มสอน, เสาวลักษณ์ ฤทธิ์อนันต์ชัย และชัยกร สีเหนี่ยง. 2557. ความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรต่อระบบส่งเสริมการเกษตร: กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. Veridian 7(6): 613-626.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. 2556. HR in an ageing world รวบรวมบทความการบริหารทรัพยากรแนวใหม่.
นนทบุรี: บริษัท อัพทรู ครีเอทนิว จำกัด.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ ทู ยู.
Birner, R., Davis, K., Pender, J., Knonya, E., Anandajayasekeram, P., Ekboir, J., Mbabu, A., et al. 2006. From best practice to best fit: A framework for analyzing pluralistic agricultural advisory services worldwide. DC: International Food Policy Research Institute.
Hoffmann, V., Lamers, J., and Kidd, A. D. 2000. Reforming the organization of agricultural extension in Germany: Lessons for
other countries. Agricultural Research & Extension Network, Network paper, No. 98.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30: 607-610.