อิทธิพลของข้อมูลสภาพอากาศและนโยบายต่อการตัดสินใจปลูกพืชทางเลือก และช่องทางการรับรู้ข้อมูลของเกษตรกร ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อยทดแทนข้าวนาปรัง เป็นมาตรการหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง แต่ยังพบว่ามีการปลูกข้าวนาปรังเกินแผนที่กำหนด เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรในการปรับปรุงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของเกษตรกร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการตัดสินใจปลูกพืชทางเลือกของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังเมื่อได้รับข้อมูลพยากรณ์สภาพอากาศและนโยบายยกเลิกการเยียวยาภัยแล้งข้าวนาปรัง โดยใช้การทดลองในสนามที่ประดิษฐ์ขึ้น (artefactual field experiment) ด้วยการเล่นเกม วิเคราะห์ผลการตัดสินใจของเกษตรกร ด้วย Mann Whitney U test และสมการถดถอย และสำรวจช่องทางการรับรู้ข้อมูลของเกษตรกร โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา จากกลุ่มตัวอย่าง 79 ราย ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจากภัยแล้ง ในอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม 2564 ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพยากรณ์สภาพอากาศมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกปลูกพืชทางเลือกของเกษตรกร ขณะที่การได้รับเพียงข้อมูลนโยบายยกเลิกการเยียวยาภัยแล้งข้าวนาปรังไม่พบอิทธิพลต่อการตัดสินใจ สำหรับช่องทางที่เกษตรกรรับรู้ข้อมูลสภาพอากาศมากที่สุดคือโทรทัศน์และแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ส่วนข้อมูลนโยบายเกษตร เกษตรกร ส่วนใหญ่รับรู้จากเจ้าหน้าที่เกษตร ผลการศึกษาชี้ว่า ควรให้ข้อมูลพยากรณ์อากาศที่มีความจำเพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดภัยแล้ง โดยสื่อสารผ่านช่องทางที่เกษตรกรติดตามได้สะดวก เช่น โทรทัศน์และแอปพลิเคชันของโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เกษตรมีความสำคัญมากในการสื่อสารนโยบายเกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, วิภพ ทีมสุวรรณ, เลอบุญ อุดมทรัพย์, วงศ์พันธ์ วงศ์สมุทร และอุทัยวุฒิ ชำนาญแก้ว. 2563. การวิเคราะห์การบริหารจัดการน้ำในสภาวะภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2563. ใน รายงานการสัมมนา 13th THAICID National e-Symposium. น. 287-308. กรมชลประทาน, นนทบุรี.
นณริฏ พิศลยบุตร. 2563. การออกแบบการจัดการความเสี่ยงปัญหาสภาพภูมิอากาศสำหรับการผลิตข้าวของไทย. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: การจัดการความเสี่ยงจากสภาพอากาศ และระบบการประกันภัยพืชผล กรณีศึกษาข้าวนาปี. โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล, กรุงเทพฯ.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2558. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรของเกษตรกร. วารสารสังคมศาสตร์ 4(2): 43-54.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี. 2564. แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปีงบประมาณ 2564/2565 จังหวัดอุทัยธานี. สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. https://www.opsmoac.go.th/uthaithani-dwl-files-432991791047 (31 ธันวาคม 2564).
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, ภรณี ต่างวิวัฒน์, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, บำเพ็ญ เขียวหวาน และณรัฐ รัตนเจริญ. 2564. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร. วารสารเกษตร มสธ. 3(1): 31-44.
Anggraini, E. 2017. Crop-choice games for analyzing externality problems of rice field conversion into oil palm plantation in North Sumatera province, Indonesia. No. 2017-RR23. Economy and Environment Program for Southeast Asia (EEPSEA).
Attavanich, W., Chantarat, S., Chenphuengpawn, J., Mahasuweerachai, P., and Thampanishvong, K. 2019. Farms, farmers and farming: a perspective through data and behavioral insights. No. 122. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Belay, A., Recha, J. W., Woldeamanuel, T., and Morton, J. F. 2017. Smallholder farmers’ adaptation to climate change and determinants of their adaptation decisions in the Central Rift Valley of Ethiopia. Agriculture & Food Security 6(1): 1-13.
Chen, Y., and Lu, Y. 2020. Factors influencing the information needs and information access channels of farmers: An empirical study in Guangdong, China. Journal of Information Science 46(1): 3-22.
Colen, L., Gomez y Paloma, S., Latacz‐Lohmann, U., Lefebvre, M., Préget, R., and Thoyer, S. 2016. Economic experiments as a tool for agricultural policy evaluation: insights from the European CAP. Canadian Journal of Agricultural Economics/Revue canadienne d'agroeconomie 64(4): 667-694.
Dewi, N. M. A. K., Syahlani, S. P., and Haryadi, F. T. 2021. The choice of information sources and marketing channel of Bali cattle farmers in Bali Province. Open Agriculture 6(1): 413-425.
Jha, C. K., and Gupta, V. 2021. Farmer’s perception and factors determining the adaptation decisions to cope with climate change: An evidence from rural India. Environmental and Sustainability Indicators 10: 100112.
Mahindarathne, M. G. P. P., and Min, Q. 2018. Developing a model to explore the information seeking behaviour of farmers. Journal of Documentation 74(4): 781-803.
Meinzen-Dick, R., Chaturvedi, R., Domènech, L., Ghate, R., Janssen, M. A., Rollins, N. D., and Sandeep, K. 2016. Games for groundwater governance: field experiments in Andhra Pradesh, India. Ecology and Society 21(3): 38.
Mongkolsri, W. 2016. Crop decision to drought: an artefactual field experiment. Master’s thesis (international program), Thammasat University.
Ndamani, F., and Watanabe, T. 2016. Determinants of farmers’ adaptation to climate change: A micro level analysis in Ghana. Scientia Agricola 73: 201-208.
Rahman, M. A., Lalon, S. B., and Surya, M. H. 2016. Information sources preferred by the farmers in receiving farm information. International Journal of Agricultural Extension and Rural Development 3(12): 258-262.
Weijters, B., Cabooter, E., and Schillewaert, N. 2010. The effect of rating scale format on response styles: The number of response categories and response category labels. International Journal of Research in Marketing 27(3): 236-247.