ผลของการใช้ 6-Benzyladenine ร่วมกับ silver thiosulfate ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและการชักนาการออกดอกในมันสำปะหลัง

Main Article Content

ธนพล แพร่งกระโทก
เฉลิมพล ภูมิไชย์
ภัศจี คงศีล

บทคัดย่อ

          ลักษณะการออกดอกของมันสำปะหลังมีความสำคัญในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้สามารถกำหนดคู่ผสมตามแผนได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการตอบสนองของมันสำปะหลังที่มีต่อลักษณะการเจริญเติบโตและการออกดอกเมื่อได้รับการชักนำด้วยการฉีดพ่น 6-benzyladenine (BA) ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ร่วมกับ silver thiosulfate (STS) วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ซึ่งได้รับการฉีดพ่นด้วย BA ที่ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิโมลาร์ ร่วมกับ STS ความเข้มข้น 2.0 มิลลิโมลาร์ เก็บข้อมูลลักษณะการเจริญเติบโต ประกอบด้วย ความสูงต้น ความสูงการแตกกิ่งที่ 1 และค่าสัดส่วนการแตกกิ่งที่ 1 ต่อความสูงต้น เมื่อมันสำปะหลัง อายุ 2-8 เดือนหลังปลูก และลักษณะการออกดอก ประกอบด้วย จำนวนดอกตัวเมีย จำนวนดอกตัวผู้ และจำนวนช่อดอกต่อต้น เมื่อมันสำปะหลังอายุ 5-8 เดือนหลังปลูก ผลการทดลองพบว่า BA ทุกระดับความเข้มข้น ส่งผลให้ลักษณะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกลักษณะของทุกเดือนที่ศึกษา ในขณะที่ลักษณะการออกดอกพบว่า BA ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ส่งผลให้จำนวนดอกตัวเมีย จำนวนดอกตัวผู้ และจำนวนช่อดอกต่อต้น ของมันสำปะหลังพันธุ์       ห้วยบง 80 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) เมื่อมันสำปะหลังอายุ 7 เดือนหลังปลูก การฉีดพ่น BA 1.0 มิลลิโมลาร์ ร่วมกับ STS ส่งผลให้ค่าลักษณะดังกล่าวมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเข้มข้นของ BA จะส่งผลให้ลักษณะการออกดอกของมันสำปะหลังแตกต่างกันทางสถิติในบางเดือนที่ศึกษา แต่ไม่ส่งผลต่อจำนวนดอกที่เพียงพอเพื่อใช้ในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง

Article Details

How to Cite
แพร่งกระโทก ธ. ., ภูมิไชย์ เ. ., & คงศีล ภ. . (2023). ผลของการใช้ 6-Benzyladenine ร่วมกับ silver thiosulfate ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและการชักนาการออกดอกในมันสำปะหลัง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 41(1), 1–9. https://doi.org/10.55003/kmaj.2023.04.30.001
บท
บทความวิจัย

References

Bernier, G., Kinit J., & Sachs, R. (1985). The Physiology of Flowering (Vol. 2nd). Transition to Reproductive Growth. Florida: CRC Press.

Department of Agriculture. (1983). Academic Papers volume 7th Cassava. Department of agriculture. Retrieved from: http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00559.pdf

Ma, N., Tan, H., Liu, X., Xue, J., Li, Y., & Gao, J. (2006). Transcriptional regulation of ethylene receptor and CTR genes involved in ethylene-induced flower opening in cut rose (Rosa hybrida) cv. Samantha. Journal of Experimental Botany. 57(11), 2763-2773.

Oluwasanya, D., Esan, O., Hyde, P., Kulakow, P., & Setter, T. (2021). Flower development in cassava is feminized by cytokinin, while proliferation is stimulated by anti-ethylene and pruning: transcriptome responses. Journal Frontiers in plant science. 12(1), 1-17.

Office of Agricultural Economics. (2020). Agricultural Statistics of Thailand Year 2020. Retrieved from: http://impexp.oae.go.th/workflow/export_report.php.

Prangkratok, T., Phumicha, C., Wannarat, W., & Kongsil, P. (2021). Effects of Red Light and 6-Benzyladenine on Branching and Flowering in Cassava. Thai Journal of Science and Technology. 10(3), 276-286.

Srikanth, A., Schmid, M. & sciences, M. (2011). Regulation of flowering time: all roads lead to Rome. Journal Cellular and Molecular Life Sciences. 68(12), 2013-2037.

Tongumpai, P. (1986). Plant Hormones and Synthetic Substances Guidelines for utilization in Thailand. Bangkok: Dynamic publishing.

Vichukit, V., Rojanaritphichet, J., Sarobol., E., Jeamjamnanja, J., Changlek, P., Sriroth, K., & Piyajomkwan, K. (1999). New varieties of cassava Huay-Bong 80. Retrieved from: http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/53/group06/vicharn/index_04.html