ประสิทธิภาพและการตกค้างของสารโบรมาซิลและไดยูรอนสำหรับการควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกสับปะรด

Main Article Content

ณัฏฐยา เรือนแป้น
กรรณิการ์ สัจจาพันธ์
ทศพล พรพรหม

บทคัดย่อ

การใช้โบรมาซิลและไดยูรอนอย่างแพร่หลายในแปลงสับปะรด อาจเกิดการตกค้างสะสมตามปริมาณการใช้สารซ้ำ ๆ ในพื้นที่เดิม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัยทางด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชในการควบคุมวัชพืช เมื่อมีการใช้สารซ้ำ ๆ มากถึง 3 ครั้ง ในหนึ่งรอบฤดูปลูกสับปะรด และตรวจหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดิน โดยใช้ UPLC-MS/MS ดำเนินการทดลองในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 - สิงหาคม 2559 วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์จำนวน 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) ไม่ควบคุมวัชพืช 2) ควบคุมวัชพืชด้วยการถอนมือ 3) ควบคุมวัชพืชด้วยโบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha 4) ควบคุมวัชพืชด้วยโบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha พ่นสารกำจัดวัชพืชที่ 0, 90 และ 180 วันหลังจากปลูก พบว่า การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha มีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืชได้หลายชนิดตลอดฤดูปลูก ไม่พบความเป็นพิษและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรด แต่มีผลกระทบต่อผลผลิต ในขณะที่การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha พบว่า มีความเป็นพิษต่อสับปะรด ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต แต่มีผลกระทบต่อผลผลิต การตรวจหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดิน พบว่า มีสารโบรมาซิลและไดยูรอนตกค้างในดิน ที่ 90 วันหลังจากได้รับสาร สารโบรมาซิลจะตกค้างในดินสูงกว่าไดยูรอน การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 5,000 + 2,500 g a.i./ha มีปริมาณสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดินสูงที่สุด ในฤดูแล้งพบปริมาณสารกำจัดวัชพืชตกค้างสะสมในดินมากขึ้น ในฤดูฝนไม่พบการสะสมของสารกำจัดวัชพืชในดิน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หลังการใช้สารกำจัดวัชพืชติดต่อกัน 3 ครั้ง การใช้โบรมาซิลร่วมกับไดยูรอน อัตรา 2,000 + 2,000 g a.i./ha  เป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับควบคุมวัชพืชในแปลงสับปะรด พบการตกค้างของสารกำจัดวัชพืชในดินแต่ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2559. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปี พ.ศ. 2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/ ard/FileUpload/hazzard/4.2/Profile%20Import%20of%20Hazardous%20(B.E.%20%202559).pdf (3 สิงหาคม 2560).

เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์ ไพบูลย์ รู้จา และ เสริมศิริ คงแสงดาว. 2545. การควบคุมสะอึกดอกขาวเล็ก Ipomoea obscura (L.) KG. ในสับปะรดด้วยสารกำจัดวัชพืช. หน้า 77-83. ใน: รายงานการประชุมวิชาการกองพฤกษศาสตร์และวัชพืช. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

ถวัลย์ ประมวล. 2557. ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้แบบหลังงอกและการวิเคราะห์สารตกค้างในสับปะรด โดยใช้ GC-MS และ LC-MS/MS. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 70 หน้า.

มงคล ศรีเพียงจันทร์. 2557. ทางเลือกของการใช้สารแบบหลังงอกสำหรับการควบคุมวัชพืชในสับปะรด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 123 หน้า.

สิริชัย สาธุวิจารณ์ มัลลิกา นวลแก้ว จรรยา มณีโชติ และ วนิดา ธารถวิล. 2554. ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (pre-emergence) และหลังงอก (post-emergence) ในสับปะรด. หน้า 189-201. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2554 เล่มที่ 1. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2559. เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 42.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ. 111 หน้า.

อภิรัฐ บัณฑิต และ ทศพล พรพรหม. 2560. การประเมินคุณลักษณะทางอัลลีโลพาธีจากหญ้าโขย่งต่อการยับยั้งการเติบโตของวัชพืชในสภาพแปลง. วารสารเกษตร 33(2): 193-202.

Alavi, G., M. Sanda, B. Loo, R.E. Green and C. Ray. 2008. Movement of bromacil in a Hawaii soil under pineapple cultivation – a field study. Chemosphere 72: 45-52.

AOAC. 2007. Official Methods of Analysis of AOAC International. 18th ed. AOAC International, Gaithersburg, Maryland.

AOAC. 2012. Official Methods of Analysis of AOAC International. 19th ed. AOAC International, Gaithersburg, Maryland.

Burrill, J.C. and E. Locatelli. 1976. Field Manual for Weed Control Research. International Plant Protection Center, Oregon State University, Corvallis, Oregon.

Echeverría-Sáenz, S., F. Mena, M. Pinnock, C. Ruepert, K. Solano, E. de la Cruz, B. Campos, J. Sánchez-Avila, S. Lacorte and C. Barata. 2012. Environmental hazards of pesticides from pineapple crop production in the Río Jiménez watershed (Caribbean Coast, Costa Rica). Science of the Total Environment 440: 106-114.

EPA. 1996. Reregistration eligibility decision (RED): Bromacil. (Online). Available: https://www3. epa.gov/pesticides/chem_search/reg_actions/reregistration/fs_PC-012301_1-Aug-96.pdf (July 17, 2017).

EPA. 2001. Environmental risk assessment for the reregistration of diuron. (Online). Available: https://www3.epa.gov/pesticides/chem_search/cleared_reviews/csr_PC-035505_27-Aug-01_043.pdf (July 17, 2017).

EFSA. 2017. The 2015 European Union report on pesticide residues in food. (Online). Available: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/ 10.2903/j.efsa.2017.4791/epdf (July 17, 2017).

Grichar, W.J., P.A. Dotray and C.L. Trostle. 2015. Castor (Ricinus communis L.) tolerance and weed control with pre-emergence herbicides. Industrial Crops and Products 76: 710-716.

Huovinen, M., J. Loikkanen, J. Naarala and K. Vähäkangas. 2015. Toxicity of diuron in human cancer cells. Toxicology in Vitro 29: 1577-1586.

Liu, S.-S., C.-L. Wang, J. Zhang, X.-W. Zhu and W. Li. 2013. Combined toxicity of pesticide mixtures on green algae and photobacteria. Ecotoxicology and Environmental Safety 95: 98-103.

Mansano, A.S., R.A. Moreira, M. Pierozzi, T.M.A. Oliveira, E.M. Vieira, O. Rocha and M.H. Regali-Seleghim. 2016. Effects of diuron and carbofuran pesticides in their pure and commercial forms on Paramecium caudatum: The use of protozoan in ecotoxicology. Environmental Pollution 213: 160-172.

Pereira, T.S.B., C.N.P. Boscolo, D.G.H. Silva, S.R. Batlouni, D. Schlenk and E.A. Almeida. 2015. Anti-androgenic activities of diuron and its metabolites in male Nile tilapia (Oreochromis niloticus). Aquatic Toxicology 164: 10-15.

Zhu Y. and Q.X. Li. 2002. Movement of bromacil and hexazinone in soils of Hawaiian pineapple fields. Chemosphere 49: 669-674.